Mr. Somboon Kangsanonkul

การออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยเบื้องต้น

Fire Alarm System Basic Design

 

 

ก่อนที่จะออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัย ผู้ออกแบบควรทำความเข้าใจลักษณะของสิ่งที่จะป้องกัน

(Hazard) ให้ดีก่อน อย่างน้อยควรพิจารณาปัจจัยเหล่านี้

1. เชื้อเพลิงที่เกี่ยวข้อง : ปริมาณและชนิดของเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกๆในการเลือก

    สารดับเพลิง และวิธีการส่งสารดับเพลิง

2. ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น : เป็นปัจจัยในการตัดสินความจำเป็นในการใช้ระบบป้องกันอัคคีภัย

3. ความคาดหวังผลการป้องกัน : สำหรับกำหนดสมรรถนะของระบบป้องกันอัคคีภัยที่ต้องการ ซึ่ง

    ข้อมูลเหล่านี้ จะหาได้จากการศึกษาลักษณะของ กิจการต่างๆ ที่จะออกแบบวางระบบ และติด

    ตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย ไว้ป้องกัน เช่น โรงงานปิโตรเคมี , โรงงาน , คลังเก็บสินค้า , ธนาคาร

    , ตึกสูง และ อาคารต่างๆ ฯลฯ แต่ละกิจการจะมีแนวทางปฏิบัติกับข้อกำหนดต่างๆ ของตนเอง

    ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากกับการออกแบบวางระบบป้องกันอัคคีภัยที่เหมาะสม

 

ระบบป้องกันอัคคีภัย จะมีลักษณะที่แตกต่างจากระบบที่เป็นปัจจัยในการผลิตตรงที่ระบบป้องกัน

อัคคีภัยจะใช้เวลาเกือบทั้งหมดไปในลักษณะการเตรียมพร้อมใช้งาน ในขณะที่ระบบที่เป็นปัจจัย

ในการผลิต จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงานตามปกติ เมื่อระบบทำงาบกพร่องไป ก็สามารถ

รับรู้ได้ในเกือบจะทันทีแต่ความบกพร่อง หากเกิดขึ้นในระบบป้องกันอัคคีภัยมักจะไม่มีผลกระทบ

ไดๆต่อการผลิต หรือการดำเนินกิจการ จึงรับรู้ได้ยากแต่ในขณะเดียวกันหากเกิดอัคคีภัยขึ้น การ

ระง้บอัคคีภัยจะกลายเป็นกิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วนสูงสุด ระบบที่แทบไม่ได้ทำงานเลยจะต้อง

ทำงานได้สมรรถนะตามที่ออกแบบไว้ ด้วยเหตุนี้การตรวจสอบ (Inspection) และการทดสอบ

(Test) ตามวาระจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับระบบป้องกันอัคคีภัย และ ตัวระบบเองก็จะต้องทำ

การออกแบบให้ตรวจสอบได้ชัดเจน สามารถทดสอบได้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง

 

ในกรณีของระบบป้องกันอัคคีภัยอัตโนมัติ

ผู้ออกแบบจะต้องมีความเข้าใจลักษณะของเชื้อเพลิง และความเสี่ยง กับความเสียหายที่อาจเกิด

ขึ้น เพื่อจะได้ออกแบบอุปกรณ์ตรวจจับ (Detection) ที่ไวต่อเพลิงไหม้ที่อาจเกิดขึ้น แต่ไม่ไวต่อ

สัญญาณแปลกปลอมอื่นๆ ขณะเดียวกันก็สามารถแนะนำผู้ใช้ในการจัดการให้มีมาตรการอนุญาต

ทำงาน (Work Permit) ที่นอกเหนือไปจากการการทำงานตามปกติของพื้นที่นั้นๆ เช่น การซ่อม

แซม การทำความสะอาด เพื่อจะได้เตรียมระบบให้ พร้อมกับสัญญาณแปลกปลอมที่แตกต่างจาก

สภาพการทำงานตามปกติ

 

ผู้เขียน…ได้พบกับคำอธิบายมากมายทั้งจาก วิศวกรผู้ออกแบบ และจากตัวผู้ใช้เกี่ยวกับความจำ

เป็นที่ จะต้องขัดขวางการทำงานของ ระบบป้องกันอัคคีภัย โดยที่ในความเป็นจริงหากผู้ออกแบบ

และ ผู้ใช้ระบบมีความเข้าใจลักษณะของทรัพย์สินที่ป้องกันว่ามีลักษณะปกติอย่างไร มีลักษณะผิด

ปกติอย่างไรที่อาจเกิดขึ้น มีความเข้าใจหลักการออกแบบ และ หลักการทำงานของ ระบบป้องกัน

อัคคีภัยแล้ว จะพบว่าระบบป้องกันอัคคีภัยที่ออกแบบไว้ด้วยความเข้าใจ กับ ออกแบบได้ตรงตาม

มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้อง จะเป็นระบบที่มี สมรรถนะ เพียงพอ และ ทนต่อความบกพร่อง และ ทนต่อ

สัญญาณแปลกปลอมได้ดี โดยไม่จำเป็นต้องขัดขวางการทำงาน ยิ่งทรัพย์สินที่ป้องกัน มีคุณค่า

มาก ระบบป้องกันอัคคีภัย ก็ยิ่งจะมีความจำเป็น และในขณะเดียวกันก็ต้องการผู้ปฏิบัติการที่มีคุณ

ภาพมากด้วย คงไม่มีใครจ้างกุลีรับค่าแรงขั้นต่ำ มาดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของ ธนาคารแน่ๆ ผู้ที่

เกี่ยวข้องกับระบบป้องกันอัคคีภัยจึงมักจะเป็นผู้ที่มีศักยภาพพอจะเข้าใจความสำคัญของระบบได้

โดยไม่ยากอยู่แล้ว เครื่องบินขับไล่ที่มีสมรรถนะสูง หรือ เครื่องบินโดยสารสมัยใหม่ๆ ก็ยังมีระบบ

อัตโนมัติมากมายที่ช่วยเหลือการทำงานของ นักบิน แต่ระบบเหล่านี้ไม่ได้่มีไว้เพื่อให้ใครๆ ก็เป็น

นักบินได้ นักบินยังคงต้องเป็น ผู้ที่ศึกษา และ ฝึกฝนมาอย่างดีเช่นเดิม ระบบเหล่านี้มีไว้เพื่อลด

ภาระของนักบิน ช่วยให้นักบินทำงานได้ดีขึ้น เช่นเดียวกับระบบอื่นๆ การออกแบบให้มีสมรรถนะ

เพิ่มขึ้น เทคโนโลยีสูงขึ้น กับการทำงานที่เป็นอัตโนมัติมากขึ้น ก็เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถใน

การทำงาน ไมไ่ด้เป็นไปเพื่อลดความจำเป็นในการใช้คนที่มีคุณภาพ ความประมาท และความรู้

เท่าไม่ถึงการณ์ ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่จะลดทอนคุณภาพของระบบโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นระบบอะไร

การพัฒนาบุคลากร กับ การฝึกอบรม ทำความเข้าใจกับงานที่แต่ละคนรับผิดชอบดูแล ยังคงเป็น

ปัจจัยที่สำคัญสำหรับทุกๆระบบเท่าเดิม

 

ในฐานะของวิศวกรผู้ออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัย การออกแบบจะต้องอยู่บนหลักการดังนี้

– ออกแบบบนพื้นฐานของความเข้าใจในลักษณะของทรัพย์สินที่จะป้องกัน

– ออกแบบบนพื้นฐานของความเข้าใจลักษณะของระบบป้องกันอัคคีภัยที่เลือกใช้

– ออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยที่ใช้งานได้

– ออกแบบระบบที่ตรวจสอบได้โดยสะดวก

– ออกแบบระบบที่ทดสอบได้ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง โดยกระทบกระเทือนกับสภาพของ

  ระบบน้อย

– จะต้องไม่ออกแบบมาตรการไดๆที่จะขัดขวางการทำงานของระบบ

– ระบบควรบำรุงรักษาง่าย แต่ไม่จำเป็นต้องออกแบบระบบที่ไม่ต้องการการบำรุงรักษา

– ระบบควรใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน แต่ไม่จำเป็นต้องออกแบบระบบที่ทนต่อความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

 

บทความโดย คุณ น้ำ – อังกุศ รุ่งแสงจันทร์

 

 

 

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

Powered by WordPress | T-Mobile Phones for Sale at BestInCellPhones.com | Thanks to Free Phones at iCellPhoneDeals.com, Free MMORPG Games and Fat burning furnace review
Mr. Somboon Kangsanonkul