Fire Alarm System
ระบบไฟอลาม (Fire Alarm) หรือ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System) คือ
ระบบที่ทำหน้าที่แจ้งเหตุเพลิงไหม้ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารสถานที่ทราบเหตุอย่าง
รวดเร็วก่อนเหตุการณ์เพลิงไหม้เนั้นจะลุกลามใหญ่ขึ้นจนไม่สามารถระงับเหตุได้ทัน
ทวงที และ ในเวลาแจ้งเหตุยังได้ส่งสัญญาณเสียงแจ้งเตือนให้ผู้ที่อยู่ภายในตัวอาคาร
ได้รับทราบเหตุ และ รีบเตรียมการอพยพออกจากพื้นที่ได้อย่างปลอดภัย ทำให้ลดการ
สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อย่างไรก็ดี เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการตรวจจับ
ของอุปกรณ์ใต่างๆ ระบบจึงมีการตั้งหน่วงเวลาเพื่อตรวจสอบสัญญาณเหตุเพลิงไหม้
ที่ต้องมีสัญญาณอย่างต่อเนื่อง (ถ้าหากเกิดมีไฟไหม้จริง) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสัญญาณ
เตือน เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารรับทราบนั้น มาจากสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้จริง และ
เพื่อจะได้ตัดสินใจเตรียมการอพยพ กับ รีบดับเพลิงตามสภานะการณ์ที่ทำได้ เพื่อลด
ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
ซึ่งผู้ที่อยู่ภายในอาคารส่วนใหญ่แล้วจะรู้จักระบบนี้กันเป็นอย่างดี แต่มักจะนึกถึงตัว
กระดึ่งกลมๆ สีแดง หรือ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ สี่เหลี่ยมสีแดง ที่มักพบเห็น และ
สังเกตุได้ง่าย ซึ่งคงมีติดเอาไว้แจ้งเตือนเพียงอย่างเดียวอันที่จริงแล้ว ระบบไฟอลาม
(Fire Alarm) นั้นไม่ได้มีเพียงแค่อุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเตือน หรือ อุปกรณ์แจ้งเหตุ
ด้วยมือ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารมีไว้กดแจ้งเหตุ และ รับรู้การแจ้งเตือนเพียงอย่าง
เดียว ยังมีอุปกรณ์สำคัญอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกับ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm
System) เพื่อทำให้ระบบนี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน เมื่อเกิดเหตุ
เพลิงไหม้ขึ้นภายในอาคาร
สิ่งที่จะอธิบายต่อไปนี้อาจจะช่วยให้เจ้าของอาคารต่างๆ หรือ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยของอาคาร และผู้ที่พักอาศัยอยู่ภายในอาคาร ได้เข้า
ใจและตะหนักถึงความสำคัญของการติดตั้งระบบไฟอลาม (Fire Alarm) กับจะได้
ทราบถึงส่วนประกอบต่างๆ ของ ระบบไฟอลาม (Fire Alarm) ที่ช่วยลดความเสีย
หายของทั้งชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นภายในอาคาร แต่ที่สำคัญที่
ทางท่านเจ้าของโครงการ หรือ ท่านเจ้าของอาคาร ต้องรับทราบไว้เลย คือ ระบบนี้
ตาม พรบ. กฎหมายควบคุมอาคาร ได้มีกำหนดไว้ว่า อาคารสูงตั้งแต่ 4 ชั้น ขึ้นไป
ที่เป็นอาคารสาธารณะ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล โรงละคร โรงหนัง หอประชุม
โรงเรียน คอนโดมิเนียม อพาร์ทเม้นท์ โรงงาน โกดังเก็บสินค้า และ ออฟฟิตต่างๆ
จะต้องมีการติดตั้ง ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System) ซึ่งอยู่ในหมวด
ระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Protection System) โดยจะไม่มีข้อยกเว้นใดๆ
จากพฤติกรรมของมนุษย์ที่อยู่ในเหตุการณ์ที่เพลิงกำลังลุกไหม้ภายในอาคาร เมื่อ
มองเห็นเปลวเพลิง หรือเห็นกลุ่มควันไฟขนาดใหญ่ จะเกิดอาการตื่นตระหนกจน
คิดไม่ออกว่าจะต้องทำอะไร ก่อนหรือหลัง บางคนอาจจะพยายามวิ่งหนีออกจาก
พื้นที่จนได้รับการบาดเจ็บ หรือบางคนอาจจะหมดสติเนื่องจากการสูดดมควันไฟ
เข้าไปมากจนก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การติดตั้งระบบไฟอลาม (Fire Alarm)
จึงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารได้มีการวางแผน และ ได้รับรู้เหตุการณ์
ก่อนอย่างรวดเร็ว เพื่อเตรียมการอพยพออกจากตัวอาคารได้อย่างปลอดภัย
โดยรูปภาพด้านบนนี้ เป็นพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์ตามหลักทฤษฎีที่แสดงให้
เห็นถึงการที่ต้องตกอยู่ในสถานะการณ์การเกิดเหตุเพลิงไหม้ ตามรายละเอียดดังนี้
ระยะที่ 1. การรับรู้ เป็นระยะสำคัญที่สุดเพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคารสามารถรับรู้ได้
ว่ากำลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในอาคาร ถ้าไม่มีระบบไฟอลาม (Fire Alarm) ก็อาจ
ทำให้รับรู้ช้าไป ซึ่งเสี่ยงอันตรายกับชีวิตได้
ระยะที่ 2. การประเมินสถานการณ์และความเสี่ยง เป็นระยะที่จะประเมินความเสี่ยง
ถึงความรุนแรงของเหตุเพลิงไหม้ภายในอาคาร เช่น การค้นหาต้นเพลิงโดยเร็ว หรือ
ใช้การมองออกไปด้านนอกตัวอาคารเพื่อดูว่ามีควันไฟจำนวนมากหรือไม่
ระยะที่ 3. การตัดสินใจ เมื่อพบเหตุของต้นเพลิงแล้วจะมีความสามารถในการดับไฟ
หรือไม่ หรือ ควรรีบเตรียมการอพยพตามแผนที่ได้ฝึกซ้อมไว้ออกไปจากนอกอาคาร
เนื่องจากเพลิงลุกไหม้เกินการควบคุมได้เอง
ระยะที่ 4. การลงมือทำ ภายหลังจากการตัดสินใจแล้วว่าจะดับต้นเพลิงเอง ก็เริ่มมอง
หาอุปกรณ์ดับเพลิงใกล้ตัว เช่น ถังดับเพลิง ( Fire Extinguisher)) หรือ ตู้สายส่งน้ำดับ
เพลิง (Fire Hose) หรือ ตัดสินใจอพยพออกจากตัวอาคารตามทางหนีไฟ (Exit Sign)
อุปกรณ์ในระบบการทำงาน ของ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System)
นั้นจะประกอบไปด้วยกัน 5 ส่วน คือ
1. ตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel) มีหน้าที่ประมวลผลระบบการทำงานหลัก
ในการควบคุม กับ บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ กับ คอยรับสัญญาณแจ้งเหตุจากพวก
อุปกรณ์ตรวจับต่างๆ และคอยส่งสัญญาณแจ้งเตือนต่างๆ ให้ผู้ที่อยู่ภายในอาคาร
รับรู้ถึงเหตุเพลิงไหม้และเตรียมการอพยพหนีไฟออกจากอาคารได้อย่างรวดเร็ว
2. แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) จะเป็นชุดจ่ายไฟให้กับ ตู้ควบคุม (FCP) และพวก
อุปกรณ์อื่นๆ ในระบบที่ต้องการไฟเลี้ยง โดยจะรับกระแสไฟเข้าแบบ AC 220 V.
กับ จะจ่ายกระแสไฟออกแบบ DC 24 V. กับ จะมีระบบสำรองไฟจาก แบตเตอรี่
(Battery Back-Up) ในกรณีที่ไฟฟ้าดับหรือขัดข้อง ระบบจะจ่ายไฟสำรองเพื่อให้
ตู้ควบคุมสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และ มียังระบบชาร์จแบตเตอรี่สำรองไฟ
(Charger Battery) สำหรับชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มพร้อมสำรองไฟต่อไป
3. อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Devices) จะเป็นอุปกรณ์อินพุต (Input) เมื่อมีการ
ตรวจจับเหตุการณ์ได้ก็จะส่งสัญญาณแจ้งเหตุไปยังชุดควบคุมหลัก เช่น
3.1. อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจจับอนุภาคของควันไฟแบบอัตโนมัติ เมื่อเกิด
เหตุเพลิงไหม้ในระยะแรกมักจะมีควันเกิดขึ้นก่อน โดยธรรมชาติของควัน
ไฟจะลอยขึ้นสู่ที่สูง เมื่อควันลอยเข้าไปในห้องดักจับควัน (Chamber) ของ
อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ อนุภาคของควันไฟจะเข้าไปกีดขวางที่วงจรไฟฟ้า
หรือ ขวางระบบแสงในวงจรตามชนิดของอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ เมื่อถึง
ค่าที่เกินกว่ากำหนดตัวอุปกรณ์ตรวจจับจะส่งสัญญาณข้อมูลไปที่ตู้ควบคุม
เพื่อแจ้งเหตุเพลิงไหม้
3.2. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
เป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณแจ้งเตือนผิดพลาด (Fault Alarm) น้อยที่สุด
ในกลุ่มของอุปกรณ์ตรวจจับทั้งหมด การทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับความ
ร้อน คือ เมื่ออุณหภูมิรอบข้างของอุปกรณ์ตรวจจับเพิ่มสูงขึ้นไปจนเกินค่า
ที่กำหนด แผ่นรับความร้อนภายในอุปกรณ์ตรวจจับก็จะมีการเปลี่ยนแปลง
รูปร่างจากค่าทำกำหนดไว้เดิม ก่อนที่จะส่งสัญญาณข้อมูลไปยังตู้ควบคุม
เพื่อแจ้งเหตุเพลิงไหม้
3.3. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือผู้ใช้ จะมีทั้ง แบบใช้มือกดปุ่มลง
(Manual Push Station) หรือ แบบใช้มือดึงปุ่มลง (Manual Pull Station) หรือ
แบบใช้มือทุบกระจกให้แตก (Manual Call Point – Break Glass) โดยมีไว้ใช้
แจ้งเหตุเพลิงไหม้ กรณีเห็นเหตุการณ์ หรือ เหตุทะเลาะวิวาท หรือ มีเหตุขอ
ความช่วยเหลือฉุกเฉินต่างๆ ฯลฯ
3.4. อุปกรณ์ตรวจจับอื่นๆ อีกหลายชนิดตามความเหมาะสมของการใช้งาน เช่น
3.4.1. อุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม (Beam Smoke Detector) จะใช้
อุปกรณ์ตัวส่งกับตัวรับ ในการตรวจจับควันไฟในพื้นที่สูง เช่น
โรงงานต่างๆ หรือ โกดังคลังสินค้าต่างๆ ฯลฯ
3.4.2. อุปกรณ์ตรวจจับควันในท่อ (Duct Smoke Detector) ใช้ตรวจจับควัน
ภายในท่อต่างๆ เช่น ท่อแอร์ หรือ ท่อระบายอากาศ ฯลฯ
3.4.3. ระบบอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศแบบหลายจุด
(Aspirating Smoke Detector System) สำหรับพื่นที่ที่ต้องการใช้
ตรวจจับควันอย่างรวดเร็วกว่าอุปกรณ์อื่น เช่น
ห้องไฟฟ้า (MDB Room) หรือ ห้องคอมพิวเตอร์ (Server Room)
หรือ ห้องเก็บเอกสารสำคัญ (Document Room) ฯลฯ
3.4.4. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบเส้น (Linear Heat Detector ) ซึ่ง
จะใช้ตรวจจับความร้อนที่สูงเกินกว่าที่กำหนด เช่น
รางเก็บสายไฟ (Wire-Way) หรือ ท่อระบายความร้อน (Heat Pipe)
3.4.5. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) จะใช้ตรวจจับเปลวไฟ
ในพื้นที่อันตราย (Hazardous Area) ต่างๆ เช่น
คลังน้ำมัน (Oil Depot) หรือ โรงงาน (Factory) หรือ โกดังเก็บสินค้า (Warehouse)
อันตรายต่างๆ ฯลฯ
3.4.6. อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส (GAS Detector) จะใช้ตรวจจับแก๊ส LPG เช่น
ห้องครัว (Kitchen Room) หรือ ห้องหม้อต้ม (Boiler Room) ฯลฯ
3.4.7. พวกอุปกรณ์ชนิดป้องกันการระเบิดภายในตัวเอง (Explosion-Ploof)
ซึ่งมีอุปกรณ์หลายชนิดให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสมของพื้นที่
อันตราย (Hazardous Area) ต่างๆ เช่น
คลังน้ำมัน (Oil Depot) หรือ โรงงาน (Factory) หรือ โกดังเก็บสินค้า (Warehouse)
อันตรายต่างๆ ฯลฯ
4. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Signaling Devices) จะเป็นอุปกรณ์เอาท์พุต (Output)
เมื่อชุดควบคุมหลัก มีการรับแจ้งเหตุการณ์ระบบก็จะส่งสัญญาณให้อุปกรณ์แจ้ง
สัญญาณเตือนทำงานตามที่ได้ตั้งค่าไว้ เช่น
4.1. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือนด้วยเสียง เช่น กระดิ่ง (Bell) กับ ฮอร์น (Horn)
4.2. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือนด้วยแสง เช่น สโตร๊บ (Strobe) กับ ไฟหมุน (Beacons)
4.3. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือนด้วยเสียงกับแสง เช่น ฮอร์นกับสโตร๊บ (Horn/Strobe)
4.4. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือนอื่นๆ อีกหลายชนิดตามความเหมาะสมของการใช้งาน
5. อุปกรณ์ประกอบ (Auxiliary Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กับการป้องกัน และการดับเพลิง โดยจะถ่ายทอดสัญญา
ระหว่างระบบเตือนอัคคีภัยกับระบบอื่น เช่น
5.1. ส่งสัญญาณไปกระตุ้นระบบอื่น เช่น ไปสั่งให้ระบบประกาศ (Public Address
System) ทำงาน หรือ ไปสั่งให้ระบบควบคุมลิฟท์ (Lift) สั่งหยุดทำงาน ฯลฯ
5.2. รับสัญญาณจากระบบอื่นมากระตุ้นการทำงานของระบบ เช่น รับสัญญาณมา
จากตู้ควบคุมระบบดับเพลิงอัตโนมัติ (FM-200 System) หรือ รับสัญญาณมา
จากตู้ควบคุมระบบฉีดน้ำดับเพลิง (Fire Pump System)
ทำไมต้องติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
ถ้ามีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นที่จุดใดจุดหนึ่งภายในสถานที่คุณ แล้วไฟที่เพิ่งลุกไหม้จะใช้
เวลากี่วินาทีในการเริ่มลุกไหม้ กับจะใช้เวลาลามไปยังจุดอื่นๆ เร็วหรือไม่ และเมื่อคุณ
พบเหตุเพลิงไหม้จะดับได้ทันเวลาหรือไม่ หรือถ้าคุณไม่ทราบเหตุจะเป็นอย่างไร
วีดีโอแสดงต้นเหตุของการเกิดเหตุเพลิงไหม้
คลิกชมวัดัโอแสดงต้นเหตุของการเกิดเหตุเพลิงไหม้ แบบที่ 1. »
คลิกชมวัดัโอแสดงต้นเหตุของการเกิดเหตุเพลิงไหม้ แบบที่ 2. »
คลิกชมวัดัโอแสดงต้นเหตุของการเกิดเหตุเพลิงไหม้ แบบที่ 3. »
คลิกชมวัดัโอแสดงต้นเหตุของการเกิดเหตุเพลิงไหม้ แบบที่ 4. »
บทสรุป
การติดตั้งระบบไฟอลาม (Fire Alarm) เปรียบได้กับมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้าน
การแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ โดยเฉพาะมาคอยรักษาความปลอดภัยให้กับตัวอาคาร
และ ผู้ที่อยู่ภายในอาคารอยู่ตลอดเวลา เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้การทำงานของระบบ
ไฟอลาม (Fire Alarm) จะทำงานตามขั้นตอนจนถึงการส่งสัญญาณแจ้งเตือนให้ผู้ที่
อยู่ในอาคารได้รับทราบเหตุการณ์ เพื่อเตรียมการอพยพ กับ รีบระงับเหตุได้อย่าง
รวดเร็ว ทำให้ลดการสูญเสียทั้งชีวิต และ ทรัพย์สิน จากเหตุเพลิงไหม้ได้มากขึ้น
แต่อย่างไรก็ดีระบบอุปกรณ์แบบอิเลคโทรนิคส์ ก็ต้องมีปัญหาเกิดขึ้นบ้าง เช่น
1.1. อุปกรณ์จรวจจับควัน (Smoke Detector) สกปรกจากฝุ่นต่างๆ หรือ มีใยแมงมุม
หรือ มีตัวแมลง ฯลฯ ถ้าหากความสกปรกพวกนี้สะสมมากๆ ก็จะทำให้อุปกรณ์
แจ้งเหตุผิดพลาด (Fault Alarm) ได้ หรือ ตัวอุปกรณ์ชำรุดเสียหายจากการปรับ
ปรุงสถานที่ หรือตามอายุการใช้งาน
1.2. อุปกรณ์จรวจจับความร้อน (Heat Detector) ไม่ตรวจจับอุณหภูมิตามที่กำหนดไว้
เพราะมีการทดสอบการทำงานที่ผิดวิธี กับ ไม่ตรงกับประเภทของอุปกรณ์ หรือ
ตัวอุปกรณ์ชำรุดเสียหายจากการปรับปรุงสถานที่ หรือตามอายุการใช้งาน
1.3. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station) ที่พบมากคือ มีคนชอบไปกดเล่น หรือ
ทำให้ตัวอุปกรณ์ชำรุดเสียหายจากฝีมือคน กับจากการปรับปรุงสถานที่ หรือตาม
อายุการใช้งาน
1.4. และอื่นๆ อีกบ้างตามสภาพการทำงาน และตามอายุการใช้งาน ฯลฯ
1.5. ซึ่งจากปัญหาต่างๆ เหล่านี้ จึงจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาระบบไฟอลาม โดยมี
ขั้นตอน ดังนี้ ทำการตรวจเช็ค กับ ทำความสะอาด และ ทดสอบระบบอุปกรณ์
สามารถกำหนดทำได้ 3 แบบ หลักๆ ดังนี้
1.5.1. แบบรายสัปดาห์ ทำโดยผู้ใช้งานด้วยการสังเกตุด้วยตา และดูที่ตู้ควบคุม
1.5.2. แบบรายคาบปี คือ 6 เดือนต่อครั้ง ทำโดยบริษัทที่ชำนาญการ โดยทำการ
ตรวจเช็ค กับทำความสะอาด และทดสอบระบบอุปกรณ์ทั้งหมด 100%
1.5.3. แบบรายปี คือ 1 ปี ต่อครั้ง ทำโดยบริษัทที่ชำนาญการ โดยทำการตรวจ
เช็ค กับทำความสะอาด และทดสอบระบบอุปกรณ์ทั้งหมด 100%