กล้องไอพี (IP Camera) คือ อะไร
กล้องไอพี – IP Camera (Internet Protocol Camera) หรือกล้องเครือข่าย (Network Camera)
เป็นประเภทของ กล้องวิดีโอดิจิตอล (Digital Video Camera) มีหลักการทำงานเหมือนกล้องทั่ว
ไป ใช้สำหรับการเฝ้าระวัง และที่แตกต่างจากกล้องวงจรปิด (Closed Circuit Television) CCTV
แบบอะนาล็อก (Analog) คือ สามารถส่งและรับข้อมูลผ่านทาง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ
อินเทอร์เน็ตได้ ถึงแม้ว่ากล้องส่วนใหญ่ที่ทำเช่นนี้ได้จะเป็นกล้องเว็บแคม (Web Cam) และ คำ
ว่า “กล้องไอพี” มักจะถูกนำไปใช้กับผู้ใช้เฉพาะสำหรับการเฝ้าระวัง โดยผู้ใช้งานสามารถดูภาพ
สดจากระยะไกลบน ระบบอินเทอร์เน็ต หรือ บนระบบเครือข่ายได้ ผ่านทางโปรแกรมที่มาพร้อมกับ
กล้องไอพี (IP Camera) กับดูภาพผ่านทางเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) และ แบบกล้องไอพี
(IP Camera) ไม่จำเป็นต้องต่อทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งแตกต่างจาก
กล้องเว็บแคม (Web Cam) ที่จะต้องต่อทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลาถึงจะใช้งาน
ได้ ส่วนฟังก์ชั่นในการใช้งานต่างๆ ของกล้องไอพี (IP Camera) จะเหมือนกับตัวกล้องอะนาล็อก
(Analog Camera) แต่จะดีกว่าคือสามารถจะสั่งงานกับควบคุมและบันทึกภาพได้ภายในตัว ซึ่งไม่
เหมือนกับ กล้องอะนาล็อก (Analog) ที่ต้องต่อเข้ากับ เครื่องบันทึกภาพดิจิตอล (Digital Video
Recorder) ทั้งแบบ DVR Card ON-PC หรือ Standalone NON-PC หรือ PC Based และผ่าน
CMS Software ถึงจะทำงานแบบกล้องไอพี (IP Camera) ได้ และกล้องไอพี (IP Camera) นั้น
สามารถจะรับและส่งข้อมูลภาพและเสียงได้พร้อมๆกัน แต่มีเฉพาะกับกล้องรุ่นใหม่ๆ ส่วนในระบบ
ต่างๆ ที่สำคัญของกล้องไอพี (IP Camera) คือ
1. กล้องไอพี (IP Camera) มี 2 ชนิด ดังนี้ :
1.1. กล้องไอพี (IP Camera) ชนิดรวมที่ศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งต่อเป็นศูนย์กลางการ
บันทึกวีดีโอเครือข่าย (Network Video Recorder – NVR) เพื่อจัดการการบันทึกวิดีโอ
(Recording) และการจัดการสัญญาณเตือน (Alarm Management)
1.2. กล้องไอพี (IP Camera) ชนิดแยกจากศูนย์กลาง (Decentralized) ที่ไม่จำเป็นต้องมี
ศูนย์กลางการบันทึกวีดีโอเครือข่าย (Network Video Recorder – NVR) ซึ่งเป็นกล้องที่
มีการบันทึกการทำงานในตัว จึงสามารถบันทึกโดยตรงไปยังสื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิตอล เช่น
การ์ดหน่วยความจำ (SD Card) กับ แฟลชไดรฟ์ (Flash Drives) กับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์
(Hard Disk Drives) หรือเครือข่ายเก็บข้อมูลแนบ (Network-attached storage – NAS)
2. เทคโนโลยีของกล้องไอพี (IP Camera) ในปัจจุบันมีดังนี้
2.1 IP Technology (Internet Protocol Technology)
โครงข่ายการสื่อสารข้อมูลและอินเตอร์เน็ท ที่สามารถส่งและรับข้อมูลภาพกับเสียง ผ่าน
ทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน
2.2 Hybrid IP Technology (Internet Protocol with Analog Technology)
เป็นการผสมผสานการทำงานระหว่างกล้องไอพี (IP Camera) กับกล้องแบบอะนาล็อก
(Analog Camera) ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ คือ สามารถต่อใช้งาน
แบบกล้องไอพี (IP Camera) กับต่อใช้งานแบบกล้องอะนาล็อก (Analog Camera) ใน
ระบบเดียวกัน หรือแยกระบบก็ได้ แต่ยังคงคุณสมบัติในการทำงานไว้ได้เป็นอย่างดี เพราะ
หากระบบเครือข่ายมีปัญหาหรืออินเตอร์เน็ทใช้งานไม่ได้ ตัวกล้องก็ยังคงทำงานได้ในแบบ
อะนาล็อก (Analog) หรือในแบบอะนาล็อก (Analog) เกิดมีปัญหาก็สามารถจะทำงานได้
ในแบบเครื่อข่าย
2.3. Full HD IP Technology (Full High Definition Internet Protocol Technology)
เป็นกล้องไอพี (IP Camera) ที่มีความละเอียดสูง (Resolution) ระดับ Full HD 1080p:
(1920 x 1080 Pixels) สามารจะกำหนดอัตราเฟรมในการบันทึกได้เต็มที่ (Full Frame
Rate) 30 เฟรมต่อวินาที (FPS : Frame Per Second) ซึ่งทำให้การแสดงภาพทั้งการดู
และการบันทึก จะมีความคมชัดและละเอียดดีมาก
3. การบันทึกภาพของกล้องไอพี (IP Camera) ในปัจจุบันมีดังนี้
3.1. บันทึกภาพลง Local Storage เช่น SD Card หรือ Flash Memory ที่รองรับอยู่บนตัว
กล้องไอพี (IP Camera)
3.2. บันทึกภาพผ่าน XNVR หรือ NVR หรือ CMS Software ที่ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
(Computer) แล้วบันทึกลง ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
3.3. บันทึกภาพโดยต่อกับ Hybrid Digital Video Recorder เครื่องบันทึกภาพดิจิตอลที่รอง
รับทั้ง กล้องแบบอะนาล็อก (Analog Camera) และกล้องแบบไอพี (IP Camera) บันทึก
ลงฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ที่มีในเครื่อง
4. ระบบสัญญาณ (Signal System) เป็นแบบไหน
แบบการประมวลผลหน่วยควบคุมภาพ (Progressive image processing)
5. ระบบสแกนภาพ (Scanning System) เป็นแบบไหน
แบบ 4 : 3 การประมวลผล (Progressive)
6. แผ่นรับสัญญาณภาพ (Image Sensor) ที่ดีของกล้องไอพี (IP Camera) ในปัจจุบันมีดังนี้
6.1. แบบ 1/2? Progressive CMOS Sensor
6.2. แบบ 1/3? Progressive CMOS Sensor
6.3. แบบ 1/3? High Sensitivity CCD
6.4. แบบ 1/4? Progressive CCD Sensor
6.5. แบบ 1/4? Progressive CMOS Sensor
6.6. แบบ 1/4? Exview CCD
6.7. แบบ 1/4? Super HAD CCD
6.8. แบบ 1/3? IT CCD
6.9. แบบ 1/4? IT CCD
7. ระบบแก้ไขการกระพริบของภาพ (Synchronization or Sync. System) เป็นแบบไหน
– ชนิดเลือกปรับแบบ Internal
– ชนิดเลือกปรับแบบ Line-Lock
– ชนิดเลือกปรับแบบ Line-Lock และ Internal
8. ผลลัพธ์จำนวนพิเซล (Effective Pixels Number) ของกล้องไอพี (IP Camera) มีดังนี้
8.1. แบบ 640 (H) x 480 (V) Pixels เท่ากับ 0.3 Mega
8.2 แบบ 659 (H) x 494 (V) Pixels เท่ากับ 0.33 Mega
8.3 แบบ 752 (H) x 582 (V) Pixels เท่ากับ 0.44 Mega
8.4. แบบ 800 (H) x 600 (V) Pixels เท่ากับ 0.5 Mega
8.5. แบบ 1024 (H) x 768 (V) Pixels เท่ากับ 0.8 Mega
8.6. แบบ 1280 (H) x 960 (V) Pixels เท่ากับ 1.3 Mega
8.7. แบบ 1400 (H) x 1050 (V) Pixels เท่ากับ 1.5 Mega
8.8. แบบ 1920 (H) x 1080 (V) Pixels เท่ากับ 2.0 Mega
8.9. แบบ 2091 (H) x 1561 (V) Pixels เท่ากับ 3.0 Mega
9. ความละเอียดแนวนอน (Horizontal Resolution) เท่าไหร่
– แบบ 480 TV Lines
– แบบ 500 TV Lines
– แบบ 530 TV Lines
– แบบ 550 TV Lines
– แบบ 580 TV Lines
– แบบ 600 TV Lines
– แบบ 650 TV Lines
– แบบ 750 TV Lines
– แบบ 800 TV Lines
– แบบ 1100 TV Lines
10. ระดับสัญญาณวิดีโอออก (Video Output Level) มีขนาดเท่าไหร่
– เลือก NTSC หรือ PAL มีขนาด 1.0 Volt p-p อินพรีแดนซ์ 75 โอห์ม ขั่วต่อแบบ BNC
* โหมดทั่วไป VGA กับ QVGA
11. ใช้เลนส์ (Lens) ชนิดไหน
– ชนิด C หรือ CS Mount กับ DC Iris (เลนส์แนะนำ)
12. ความไวแสงในการรับสัญญาณภาพ (Min. Illumination) แบบ
– แบบ 0 Lux (IR On)
– แบบ 1 Lux (DSS On)
13. ระบบหมุน ก้ม เงย ดิจิตอล (Digital Pan/Tilt) แบบใด
– ฟ้งก์ชั่นรูปภาพคร๊อปไว้ (Image Cropping Function)
14. มีระบบแสดงคำสั่งบนจอภาพ (OSD : On Screen Display)
– จะมีเฉพาะกล้องไอพี (IP Camera) บางรุ่นเท่านั้น
15. มีระบบปรับลดสัญญาณรบกวนของภาพในขณะที่มีแสงสว่างน้อย DNR
(Digital Noise Reduction)
– จะมีเฉพาะกล้องไอพี (IP Camera) บางรุ่นเท่านั้น
16. ความเร็วชัตเตอร์ช้าแบบดิจิตอล (DSS : Digital Slow Shutter)
– จะมีเฉพาะกล้องไอพี (IP Camera) บางรุ่นเท่านั้น
17. ระบบจับภาพในสภาพย้อนแสง (WDR : Wide Dynamic Range)
– จะมีเฉพาะกล้องไอพี (IP Camera) บางรุ่นเท่านั้น
WDR : Wide Dynamic Range คือ
การที่กล้องถ่ายภาพซ้อนกัน 2 ใบในเวลาเดียวกัน ใบนึงถ่ายภาพในสภาวะปกติ อีกใบนึงถ่ายให้มี
ความสว่างมากกว่าปกติ แล้วนำภาพที่ได้มาซ้อนกัน ทำให้ภาพทั้งภาพมีรายละเอียด คือส่วนที่มืด
ก็ดึงภาพให้สว่างขึ้น ส่วนที่สว่างเกินไปก็ดึงรายละเอียดกลับมาทำให้มองเห็นรายละเอียดภาพ
ซึ่งส่วนใหญ่กล้อง WDR นี้จะใช้มากในสภาพย้อนแสง คือ แสงจากฉากหลังสว่างกว่าวัตถุที่เรา
สนใจ ซึ่งจะทำให้ภาพซึ่งมีวัตถุที่เราสนใจมืดกว่าปกติ เราจึงต้องแก้ไขด้วยการติดกล้อง WDR
เพื่อให้ได้ภาพในส่วนที่มืดและส่วนที่แสงสว่างจ้าออกมาตามรายละเอียดมุนภาพที่ต้องการ
18. ระบบกลางวันและกลางคืน (Day & Night System)
เป็นระบบที่ในสภาวะปกติกล้องจะถ่ายภาพเป็นภาพสี แต่เมื่อในสภาพแสงน้องจนถึงค่าที่
กำหนด กล้องจะปรับการทำงานให้เป็นโหมดขาวดำโดยอัตโนมัติ
ข้อดี
คือ กล้องที่มีระบบ Day & Night ในสภาวะที่แสงน้อยจะไม่ได้ถูกจำกัดระยะในจับภาพ
และกล้องต้องการแสงสว่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อให้กล้องสามรถจับภาพได้
ข้อเสีย
คือ ไม่สามรถจับภาพในที่ที่มึดสนิทได้ (ต้องใช้ระบบนี้กับตัวกล้องแบบอินฟราเรด IR)
19. มีระบบควบคุมอัตราขยายสัญญาณภาพแบบอัตโนมัติ (AGC : Auto Gain Control)
– แบบอัตโนมัติ หรือ เปิด กับ ปิด ( Auto or On / Off)
20. มีระบบชดเชยแสงในการจับภาพย้อนแสง (Back Light Compensation)
– แบบอัตโนมัติ หรือ เปิด กับ ปิด ( Auto or On / Off)
21. มีระบบลดการสั่นไหวของภาพ (Flickerless)
– แบบอัตโนมัติ หรือ เปิด กับ ปิด (Auto or On / Off)
22. มีระบบการปรับความสมดุลของแสงสีขาว (White Balance)
– แบบอัตโนมัติ (Auto) กับ แบบปรับด้วยมือ (Manual)
23. ปริมาณการรับแสง (Exposure)
– แบบอัตโนมัติ (Auto) กับ แบบปรับด้วยมือ (Manual)
24. มีความเร็วในการจับภาพ (Electronic Shutter Speed) ปรับได้ตั้งแต่
– แบบ NTSC : 1/6 ~ 1/600 (13 Step) กับแบบ PAL : 1/6 ~ 1/500 (13 Step)
25. ระบบ (System) ของกล้องไอพี (IP Camera)
25.1. หน่วยควบคุมหลัก (Main Processors) เป็นแบบ 32bit Embedded CPU with Linux
25.2. ระบบหน่วยความจำ (System Memory)
– NAND Flash Memory : 64MByte กับ 128MB DDR Memory
– SD Card : Support for Max 4 GByte Size
26. เทคโนโลยีการบีบอัดไฟล์ภาพ (Compression) ในการบันทึกภาพของกล้องไอพี
(IP Camera) ในปัจจุบันมีดังนี้
26.1. แบบ H.264
26.2. แบบ MJPEG
26.3. แบบ MPEG4
27. อัตราเฟรม (Frame Rate) สูงสุดในการบันทึกภาพต่อกล้องของกล้องไอพี
(IP Camera) ในปัจจุบันมีดังนี้
27.1. แบบ H.264 ต้องไม่น้อยกว่า 24 หรือ 25 หรือ 30 เฟรมต่อวินาที
(24, 25, 30 FPS : Frame Per Second)
27.2. แบบ MPEG4 ต้องไม่น้อยกว่า 24 หรือ 25 หรือ 30 เฟรมต่อวินาที
(24, 25, 30 FPS : Frame Per Second)
27.3. แบบ MJPEG ต้องไม่น้อยกว่า 15 หรือ 22 หรือ 24 เฟรมต่อวินาที
(15, 22, 24 FPS : Frame Per Second)
28. ความละเอียด (Resolution) ของกล้องไอพี (IP Camera)
28.1. แบบ 0.3 Mega = 640 (H) x 480 (V) Pixels (VGA)
28.2. แบบ 0.33 Mega = 659 (H) x 494 (V) Pixels
28.3. แบบ 0.4 Mega = 720 (H) x 576 (V) Pixels (D1)
28.4. แบบ 0.44 Mega = 752 (H) x 582 (V) Pixels
28.5. แบบ 0.5 Mega = 800 (H) x 600 (V) Pixels
28.6. แบบ 0.8 Mega = 1024 (H) x 768 (V) Pixels
28.7. แบบ 1.3 Mega = 1280 (H) x 720 (V) Pixels (720P)
28.8. แบบ 1.3 Mega = 1280 (H) x 960 (V) Pixels
28.9. แบบ 1.4 Mega = 1280 (H) x 1024 (V) Pixels (SXGA)
28.10. แบบ 1.5 Mega = 1400 (V) x 1050 (V) Pixels
28.11. แบบ 2.0 Mega = 1920 (H) x 1080 (V) Pixels (Full HD)
28.12. แบบ 3.0 Mega = 2091 (H) x 1561 (V) Pixels
29. กล้องไอพี (IP Camera) กับจอแสดงผล (Monitor)
ซึ่งความละเอียดของจอแสดงผล (Monitor) ในปัจจุบันมีดังนี้
– จอแสดงผล (Monitor) แบบ VGA = 640 (H) x 480 (V) Pixels
– จอแสดงผล (Monitor) แบบ SXGA = 1280 (H) x 1024 (V) Pixels
– จอแสดงผล (Monitor) แบบ HD (720P) = 1280 (H) x 720 (V) Pixels
– จอแสดงผล (Monitor) แบบ Full HD = 1920 (H) x 1080 (V) Pixels
หมายเหตุ
ถ้าเราเลือกกล้องไอพี (IP Camera) ที่มีความละเอียด 3.0 MegaPixel (2091×1561) แต่ใช้
จอแสดงผล (Monitor) ที่สามารถแสดงผลได้สูงสุดแบบ Full HD เพียง 1920×1080 พิเซล
ซึ่งทำให้การแสดงผลนั้นคุณภาพไม่ดี และไม่สามารถปรับแต่งให้การแสดงผลดีขึ้นได้ เพราะ
ความละเอียดที่ส่งมาจาก กล้องไอพี (IP Camera) มากกว่า ความละเอียดของ จอแสดงผล
(Monitor) ที่สามารถจะแสดงผลได้ ดังนั้นในการเลือกใช้งานกล้องไอพี (IP Camera) ควรจะ
คำนึงถึง จอแสดงผล (Monitor) ที่ซื้อมาใช้งานร่วมกันด้วยเสมอ เพราะจะได้ไม่ต้องเสียเวลา
มาปรับแต่งกับเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้ และจะได้ไม่ต้องเสียเงินปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่มา
ทดแทนให้สามารถใช้งานได้
30. การส่งสัญญาณภาพ (Video Streaming) มีดังนี้
– SXGA / XGA : MJPEG Single mode, VGA : Dual Capable
– Constant and variable bit rate in MPEG4 (128kbps ~ 3M bps), Controllable
frame rate and bandwidth
31. การกำหนดค่าภาพ (Image Settings) มีดังนี้
– การตั้งค่าระดับการบีบอัด (Compression level setting)
– กำหนดความสว่าง (Configurable Brightness)
– กำหนดความคมชัด (Sharpness)
– การปรับความสมดุลของแสงสีขาว (White Balance)
32. การบันทึกเสียง (Audio) รับและส่งข้อมูลของกล้องไอพี (IP Camera) ในปัจจุบันมีดังนี้
– แบบ 2 ทาง (Two-way – Audio Full Duplex / ADPCM)
– แบบ 1 ทาง (One-way – IPNC to Client, PCM G.711)
– แบบ 2 ทาง (Two-way Audio ADPCM)
33. เครือข่าย (Network) ที่สามารถรองรับ ของกล้องไอพี (IP Camera) ในปัจจุบันมีดังนี้
33.1. สามารถเข้าได้กับโปรโตคอล (Protocol)
IPv4, HTTP, TCP, RTSP, RTP, RTCP, UDP, SMTP, FTP, ICMP, DHCP,
UPnP, Bonjour, ARP, DNS, DynDNS and IPv6
33.2. รองรับใช้งานระบบ (Supported) DDNS ได้ดังนี้
33.2. 1. XXX DDNS – จากบริษัทฯเจ้าของสินค้า (CCTV) นั้นๆ
(ถ้ามีให้บริการฟรี เพื่อให้ความสะดวกกับลูกค้า)
33.2. 2. DynDNS.org – เว็บให้บริการใช้งานระบบ DDNS ฟรี
33.2. 3. Reference code with SDK
มีโค๊ดอ้างอิงการเขียนโปรแกรม (Reference code) กับชุดพัฒนาโปรแกรม
(SDK) เพื่อให้นักพัฒนาโปรแกรมนำไปเขียนโปรแกรมใช้งานเพิ่มเติม
(บางแบรนด์มีให้ แต่บางแบรนด์ก็ไม่มีให้)
33.2. 4. รองรับการเข้าถึงวีดีโอ จากเครื่องดูกล้องวงจรปิดสดผ่านทางเว็บบราวน์
เซอร์ สำหรับเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 ไคลเอ็นท์
Video access from Web browser Camera live viewer for up to
10 clients
33.2. 5. รองรับ PoE (Power over Ethernet) ภายใต้มาตรฐานที่รองรับ
IEEE 802.3af (Standard Supported)
อ้างถึง…..DDNS คืออะไร………………………………………………….
DDNS (Dynamic Domain Name Service หรือ Dynamic Domain Name System) คือ ระบบ
อัพเดท (Update) ตำแหน่งที่อยู่ไอพี (IP Address) เข้ากับชื่อ โดเมนเนม (Domain) หรือโดเมน
ย่อย (Sub-Domain) โดยปกติเวลาที่ทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเครื่องของผู้ใช้งานจะได้ตัวเลข
ตำแหน่งที่อยู่ไอพี (IP Address) สำหรับอ้างอิงบนโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งตัวเลข ตำแหน่งที่อยู่ไอพี
(IP Address) นี้ จะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากต้องการได้ IP Address ที่แน่นอนไม่เปลี่ยน
แปลง จะต้องทำการเซ็ตตั้งค่าไอพีไว้คงที่ (Fix IP) ซึ่งเสียค่าใช้บริการประมาณ 2,000 – 4,000
บาทต่อเดือน ผู้ใช้ต้องจำเลข IP ดังกล่าว เพื่อเอาไว้อ้างอิงสำหรับใช้งานระบบ DDNS ซึ่งระบบ
DDNS จะเข้ามาช่วยในการ จับคู่ IP Address ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น ให้มี IP คงที่เข้า
กับชื่อ โดเมนเนม (Domain หรือ Sub-Domain) ได้ในปัจจุบันมีผู้ให้ใช้งานระบบ DDNS ฟรี เช่น
DynDNS.org สำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน และถ้าจะใช้งาน
ในระบบกล้องโทรทัศน์วงขรปิด (CCTV) สามารถจะใช้งานระบบ DDNS ได้จากทั้งจากของทาง
DynDNS.org หรือ DDNS ของบริษัทฯเจ้าของสินค้า (CCTV) นั้นๆ (ถ้ามีให้บริการฟรี เพื่อให้
ความสะดวกกัยลูกค้า)
……………………………………………………………………………………………………..
อ้างถึง….PoE คืออะไร……………………………………………………………………………
POE ย่อมาจาก Power Over Ethernet คือการนำสายแลนทีเหลือ 2 คู่ (4 เส้น) มาใช้เป็นสาย
ไฟแทน โดยมีมาตรฐานที่รองรับ (Standard Supported) IEEE 802.3af ซึ่งไฟฟ้าที่ใช้ผ่าน
สายแลนนี้จะเป็นไฟกระแสตรง (DC) จึงไม่มีการรบกวนสัญญาณภายในสายแลน (LAN Cable)
โดย PoE จะใช้แรงดันเพียง 48 โวลต์ (Volt) หรือกินไฟประมาณ 13 วัตต์ (Watt) เท่านั้น ตาม
มาตรฐาน IEEE 802.3af สามารถจะจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในกำลังไฟฟ้าไม่เกิน 25 วัตต์ (Watt)
ต่อ พอร์ต (Port)
ข้อดีของการนำ PoE มาใช้งาน
* ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟ ควบคู่ไปกับ การเดินสายแลน
* ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เครือข่าย (Network) แบบทั่วๆไปได้ หมายถึงการเชื่อมเครือข่าย
(Network) ทั่วไปกับเครือข่าย (Network) แบบ PoE
* มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากใช้ไฟแรงดันต่ำ และเป็นไฟกระแสตรง (DC)
* ประหยัดค่าอุปกรณ์ในการสำรองไฟ (UPS) เพราะใช้ไฟแรงดันต่ำ และเป็นไฟกระแสตรง (DC)
หมายเหตุ
PoE จะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์เครือข่าย (Network) แบบ Switch หรือ Access Point ที่รองรับ
ระบบ PoE ด้วยเช่นกัน แต่ราคาก็จะสูงขึ้นกว่าปกติด้วย ปัจุจบันนิยมนำมาใช้ร่วมกับ กล้องไอพี
(IP Camera) กับต่อใช้งานร่วมกับระบบกล้องวงจรปิดแบบอะนาล็อก (Analog CCTV System)
………………………………………………………………………………………………….
34. ความปลอดภัย (Security) ของกล้องไอพี (IP Camera)
34.1 ตั้งค่ากำหนดระดับการเข้าใช้งาน (Access level setup) โดยระดับการเข้าถึงของ
หลายๆผู้ใช้กับการป้องกันด้วยรหัสผ่าน (Multiple user access levels with
password protection)
34.2. เครือข่ายความปลอดภัย (Network Security) จะให้การสนับสนุนสำหรับการกรอง
ไอพี (Will support for IP Filtering)
35. มีระบบสัญญาณเตือน และการจัดการเหตุการณ์ (Alarm and Event Management) ของ
กล้องไอพี (IP Camera) ในปัจจุบันดังนี้
35.1. การตรวจจับภาพ (Image detection) ด้วยการตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion
detection) โดยตรวจจับการเคลื่อนไหวแบบง่าย ด้วย 12 บล็อก (Simple Motion
Detection with 12 Blocks)
35.2. การตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจจับ (Sensor detection) โดยรองรับการต่อเข้ากับอุปกรณ์
ตรวจจับ กับรองรับการต่อออกสัญญาณแจ้งเตือน (Sensor In, Alarm out)
35.3. ขั้นตอนภายหลังเหตุการณ์ (After Event process) จะกำหนดให้อัพโหลดรูปภาพ
JPEG ทาง FTP / SMTP บนเครื่องแม่ข่าย (JPEG Image upload over FTP server /
SMTP) (อีเมล์ เครื่องแม่ข่าย) (E-mail server)
35.4. จัดเก็บข้อมูลภายใน (Local Storage) ด้วย SD Card Memory หรืออื่นๆ
35.5. มีการเตือนล่วงหน้า กับ เมื่อเกิดการบุกรุก (Pre / Post alarm) โดยมีอุปกรณ์ตรวจจับ
(Sensor) ซึ่งติดอยู่ที่บริเวณสำคัญ เป็นตัวจับสัญญาณการบุกรุก แล้วส่งสัญญาณไปให้
กล้องทำการจับภาพบริเวณนั้น และบันทึกภาพไว้ ขณะเดียวกันระบบจะส่งสัญญาณแจ้งให้
ทางสถานที่ทราบถึงการบุกรุก โดยผ่านทางอีเมล์ หรือโทรศัพท์มือถือ (อุปกรณ์เสริม) หรือ
ส่งเข้าศูนย์กลางความปลอดภัยได้
36. โปรแกรมที่สนับสนุน (Applications) มีดังนี้
36.1 บราวน์เซอร์ (Browser) รองรับ Internet Explorer 6.0 หรือสูงกว่า (or Higher)
36.2 โปรแรมการติดตาม (Monitoring Application)
– เครื่องมือดูผ่านเว็บ (Web Viewer) พื้นฐานเว็บบราวน์เซอร์วินโดว์ (Window Web
Browser Base)
– ดูภาพสดสำหรับเพิ่มถึง 10 ผู้ใช้ ไคลเอ็นท์ (Live view for up to 10 user clients)
– ภาพวิดีโอที่เกิดจากการจับภาพหน้าจอ และการบันทึกเป็นไฟล์ JPEG
(Video Snapshot & recording to file) (JPEG file)
– ดูผ่านทางศูนย์กลางการบันทึกวีดีโอเครือข่าย และเครื่องมือ (ไอพี-การติดตั้ง อื่นๆ)
(Network Video Recorder – NVR Viewer and Utility (IP-Installer, etc)
– ดูผ่านทาง ศูนย์กลางการบันทึกวีดีโอเครือข่าย (Xnet Network Video Recorder
– XNVR Viewer) และเครื่องมือ (ไอพี-การติดตั้ง อื่นๆ)
(Network Video Recorder – NVR Viewer and Utility (IP-Installer, etc)
36.3 ระบบควบคุม (System Control)
– เครื่องมือจัดการกล้องจากเจ้าของสินค้าในแผ่นซีดี และการตั้งค่าเว็บเบส
(XXX Camera Management tool on CD and web-based configuration)
37. การบำรุงรักษา (Maintenance) มีดังนี้
– ระบบอัพเกรด (System Upgrade) อัพเกรดเฟิร์มผ่าน HTTP (Firmware upgrade over
HTTP)
– ควบคุมการหมุน ก้ม เงย (PTZ control) ทาง RS-485 (RS-485) บริการโปรโตคอลการ
หมุน ก้ม เงย (PTZ Protocol Service) ผู้ใช้กำหนดอัพเดทเอง (User define update)
38. แมคคานิคส์ (Mechanical) มีดังนี้
– อุณหภูมิในการทำงาน (Operating Temperature) 0?~ 40?
– พลังงาน (Power) แบบ ดีซี 12 โวลต์ สูงสุด 5 วัตต์ (DC 12V Max. 5 W)
– พลังงาน (Power) แบบ ดีซี 24 โวลต์ สูงสุด 5 วัตต์ (DC 24V Max. 5 W)
– พลังงาน (Power) แบบ PoE (Power over Ethernet – Standard IEEE 802.3af)
39. กล้องไอพี (IP Camera) มีหลายประเภท เช่น
– กล้องไอพี (IP Camera) ประเภทกล่องมาตรฐาน (Standard Box)
– กล้องไอพี (IP Camera) ประเภททรงโดม (Dome)
– กล้องไอพี (IP Camera) ประเภททรงโดมทนการกระแทรก (Vandal-Resistant Dome)
– กล้องไอพี (IP Camera) ประเภททรงโดมอินฟราเรด (IR Dome)
– กล้องไอพี (IP Camera) ประเภททรงโดมอินฟราเรดทนการกระแทรก (Vandal-Resistant
IR Dome)
– กล้องไอพี (IP Camera) ประเภทอินฟราเรดกันน้ำ (Weatherproof IR)
– กล้องไอพี (IP Camera) ประเภทหมุน-ก้ม-เงย-ขยายดูภาพได้ (PTZ – PAN / Tile
/ Zoom)
– กล้องไอพี (IP Camera) ประเภทหมุน-ก้ม-เงย-ขยายดูภาพได้ (Speed Dome)
40. การติดตั้งกล้องไอพี (Installation IP Camera)
ซึ่งในการติดตั้งชุดระบบกล้องไอพี (IP Camera) สามารถติดตั้งได้ทั้งชนิดรวมที่ ศูนย์กลาง
(Centralized) หรือชนิดแยกจากศูนย์กลาง (Decentralized) โดยการติดตั้งทั้ง 2 ชนิด ทาง
สถานที่ติดตั้งจะต้องมี ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ส่งและรับข้อมูล แล้วเดินสายแลน
(LAN) เช่น UTP CAT5e Cable หรือ Fiber Optic ต่อเข้าตัวกล้องไอพี (IP Camera) แล้ว
เดินสายไฟกระจายตามจุดติดตั้ง ตัวกล้องไอพี (IP Camera) เพื่อต่อหม้อแปลงไฟจ่ายไฟ
เลี้ยงให้ ตัวล้องไอพี (IP Camera) และลงโปรแกรมที่มากับ ตัวกล้องไอพี (IP Camera) ลง
เครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วทำการตั้งค่าระบบต่างๆ และ กำหนดใส่ตำแหน่งไอพี (IP Address)
ให้ตัวกล้องไอพี (IP Camera) ที่มีติดตั้งไว้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันนี้ตัวกล้องไอพี (IP Camera)
รุ่นใหม่ๆ จะมีเทคโนโลยีแบบ PoE (Power over Ethernet) ติดมาพร้อมกับ ตัวกล้องไอพี
(IP Camera) ด้วยทำให้ไม่ต้องเดินสายไฟ เพราะสามารถจ่ายไฟไปเลี้ยงให้ ตัวกล้องไอพี
(IP Camera) ไปกับสายแลน (LAN) ได้เลย ซึ่งทำให้ประหยัดค่าสายไฟ กับค่าแรงในการ
ติดตั้งระบบได้มากกว่า แล้วยังทำให้ง่ายต่อการติดตั้ง และสะดวกต่อการชยายระบบเพิ่มเติม
ในอนาคต แต่การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดไม่ว่าจะเป็น แบบกล้องไอพี (IP Camera) หรือ
แบบอะนาล็อก (Analog) สิ่งที่จะขาดไม่ได้ คือ การสำรองไฟให้กับระบบกล้องวงจรปิด ด้วย
การใช้เครื่องสำรองไฟ (UPS) ตามขนาดกำลังไฟฟ้าที่ต้องการสำรองกรณีไฟฟ้าดับ เพราะถ้า
ไม่มีการสำรองไฟ แล้วไฟฟ้าหลักของสถานที่ติดตั้งเกิดดับ ตัวกล้องวงจรปิดก็จะไม่สามารถ
ทำงานได้ทั้งการจับภาพ หรือส่ง-รับข้อมูลบนเครือข่าย หรือการบันทึกภาพ
41. การใช้กล้องไอพี (IP Camera) ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
41.1. หากจะเลือกติดตั้งใช้งานระบบกล้องไอพี (IP Camera) ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ในเรื่อง
ของคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายดีพอสมควร
41.2. ควรเลือกใช้กล้องไอพี (IP Camera) ของแบรนด์สินค้าที่มีคุณภาพดีๆ เพื่อจะได้ลด
ปัญหาในการออกแบบวางระบบกับการติดตั้งระบบเครือข่ายที่มีอยู่มากมาย โดยเฉพาะ
เรื่องของสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นทุกๆวัน และระบบเครือข่ายที่วุ่นวายของประเทศไทย
41.3. การติดตั้งกล้องไอพี (IP Camera) เป็นจำนวนมาก จะต้องวางระบบเครือข่าย
(Network) ให้ดีๆ และเลือกใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย (Network) ที่มีคุณภาพ
สูงๆ เช่น อุปกรณ์เร้าเตอร์ (Router) กับ สวิตซ์ (Switch) กับสายนำสัญญาณระบบ
เครือข่าย (UTP) ซึ่งต้องคำนึงถึงระยะทางการเชื่อมต่อระบบด้วย กับการสำรองไฟให้
ระบบ (UPS) และระบบป้องกันไฟกระชาก (Surge Protector) ฯลฯ
41.4. กล้องไอพี (IP Camera) จะมีราคาที่สูงกว่า กล้องแบบอะนาล็อก (Analog Camera)
ถ้าเทียบกันตัวต่อตัว หรือ เปรียบเทียบทั้งระบบอุปกรณ์
41.5. กล้องไอพี (IP Camera) ในการติดตั้งระบบจะใช้สายน้อยกว่า กล้องอะนาล็อก
(Analog Camera) ถ้าเลือกใช้กล้องไอพี (IP Camera) แบบที่มี PoE ในตัว หรือ ต่อ
กับ Switch ที่มี PoE แต่ถ้าติดตั้งกล้องไอพี (IP Camera) เป็นจำนวนมากราคาค่าติด
ตั้งก็จะแพงมากๆ ไปตามจำนวนระบบอุปกรณ์เครือข่ายที่เพิ่มขึ้น เพราะต้องใช้อุปกรณ์
ที่มีคุณภาพสูงในการติดตั้งระบบที่ใหญ่มากๆ
41.6. การติดตั้งระบบกล้องไอพี (IP Camera) จำนวนมากๆ ผู้ออกแบบวางระบบ และทีมช่าง
ติดตั้งระบบต้องมีความรู้ และความชำนาญ เกี่ยวกับระบบเครือข่ายเป็นอย่างดี ไม่ควร
ให้ทีมช่างอื่นติดตั้งระบบ เดินสายร้อยท่อ แล้วอีกทีมช่างหนึ่งมาติดตั้งอุปกรณ์กับเซ็ต
ระบบ เพราะอาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ทั้งตอนติดตั้งและหลังติดตั้ง ซึ่งระบบอาจจะไม่
สมบูรณ์แบบ หรือใช้งานไปสักระยะก็เกิดปัญหาตลอดที่สำคํญจะหาคนรับผิดชอบไม่
ได้ คือ จะเกี่ยงกันเองว่า ตรงส่วนนี้เขาทำ แต่ตรงส่วนนี้เขาไม่ได้ทำกรรมจะมาตกอยู่
ที่ลูกค้าที่เสียเงินแล้ว แต่ไม่ได้ระบบที่มีคุณภาพตามที่ควรจะเป็น
41.7. การติดตั้งระบบกล้องไอพี (IP Camera) ภายนอกอาคารสถานที่ (Outdoor) หรือ
ติดตั้งกลางแจ้งต้องใส่ตัวกล้องไอพี (IP Camera) ไว้ในกล่องหุ้มกล้อง (Housing)
แบบใช้ภายนอก (Outdoor) ที่มีระบบปรับอุณหภูมิด้วย (Heater) กับ มีพัดลมระบาย
ความร้อน (Blower) กับ มีหลังคากันแดด (Sunshield) กับต้องได้มาตรฐานป้องกันน้ำ
และฝุ่นที่ระดับ IP66 ,NEMA-4X และมีโครงสร้างทำจากอลูมิเนียม (Aluminum) หรือ
แม้แต่อุปกรณ์เชื่อมระบบเครือข่าย เช่น Switch ที่ต้องติดตั้งไว้ภายนอกอาคารสถานที่
(Outdoor) ก็ต้องใส่ในกล่องที่ป้องกันน้ำและฝุ่น กับมีพัดลมระบายความร้อนประกอบ
ไว้ในกล่องด้วย เพื่อลดปัญหาอาการแฮงค์ หรือ อาการเสียได้ง่ายของอุปกรณ์ ที่ต้อง
เจอกับสภาพแสงแดดที่ร้อนจัดๆ ซึ่งการติดตั้งระบบอุปกรณ์ไว้ภายนอกอาคารสถานที่
(Outdoor) จึงจำเป็นต้องมีการตรวจเช็ค (Checking) กับบำรุงรักษา (Maintenance)
ระบบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอให้อยู่ในสภาพที่ดี และพร้อมทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
41.8. กล้องไอพี (IP Camera) สามารถที่จะดูภาพผ่านคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง และบันทึก
ข้อมูลใส่ในการ์ดหน่วยความจำ SD Card (Memory) ที่มีรวมอยู่ภายในตัวกล้อง ทำ
ให้ไม่ต้องต่อทำงานร่วมกัยเข้ากับเครื่องบันทึกภาพดิจิตอล (DVR – Digital Video
Recorder) เหมือนกับ กล้องแบบอะนาล็อก (Analog Camera) ก็ถือว่าเป็นจุดเด่น
ที่ดี แต่ถ้ากำหนดความละเอียดในการบันทึกภาพไว้สูงๆ ก็จะมีปัญหาของการเก็บ
บันทึกข้อมูลภาพในการ์ดหน่วยความจำ SD Card (Memory) ได้น้อยลง ทำให้ต้อง
ต่อทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อบันทึกภาพลงในฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) อยู่
ดี เพราะจะได้เก็บบันทึกข้อมูลภาพได้มากขึ้นตามจำนวนวันที่ต้องการเก็บบันทึกภาพ
นั้นไว้
42. อุปกรณ์เร้าเตอร์ (Router) คืออะไร
มีหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายที่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะต่างหรือเหมือนกัน
ในด้านกายภาพก็ตาม การเชื่อมโยงนี้มีหลายลักษณะส่วนใหญ่แล้วจะเชื่อมโยงกันโดยผ่าน
ทางบริการ Wide Area Network Service (WAN service) เช่น การเชื่อมโยงด้วยบริการ
ISDN (integrated Services Digital Network) กับ Frame Relay กับ Point-To-Point
Leased Circuit กับ บริการเครือข่าย X.25 หรือ แม้กระทั่งบริการ ATM (Asynchronous
Transfer Mode)
อุปกรณ์เร้าเตอร์ (Router) ทำงานที่ Layer 3 หรือ Network Layer ในมาตรฐาน OSI Model
การส่งข้อมูลจะทำได้โดยไม่ต้องสนใจว่าด้านกายภาพของเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่จะเป็น
อย่างไร การทำงานอย่างคร่าวๆ ของ เร้าเตอร์ (Router) เป็นดังนี้
42.1. เมื่ออุปกรณ์เร้าเตอร์ (Router) ได้รับข้อมูล หรือ Data Packet มาจากพอร์ตเชื่อมต่อจะ
ทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อน ด้วยขบวนการคำนวณค่า Checksum
ถ้าข้อมูลที่ใดผิดพลาดก็จะยกเลิกการทำงาน และ ไปอ่านข้อมูล Data Packet ใหม่
แล้วจึงกลับเข้ามาทำงานต่อ ถ้าขบวนการคำนวณค่า Checksum ถูกต้องก็จะทำงาน
ในขั้นต่อไป
42.2. อุปกรณ์เร้าเตอร์ (Router) จะพิจารณาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลของ Data Packet
นี้ว่าต้องส่งออกไปยังเครือข่ายอื่นอย่างไร ในขั้นตอนนี้เร้าเตอร์ (Router) จะตรวจ
สอบและทำการคำนวณค่าจากข้อมูล Routing Table (ตารางข้อมูลของเส้นทางการ
ส่งผ่านข้อมูล) ของตนคือจาก ปรับปรุงข้อมูลพิจารณาเส้นทางตาม Routing
Algorithm (ขบวนการพิจารณาเส้นทางส่งผ่านข้อมูล) เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วจะทำงาน
ในขั้นต่อไป
42.3. นำข้อมูล Data Packet ที่ทราบว่าต้องส่งผ่าน Data Packet นี้ไปอย่างไร ลงในลำดับ
หรือ Queue เพื่อรอการส่งต่อออกไป
42.4. อุปกรณ์เร้าเตอร์ (Router) ยังมีการรับและส่งข้อมูล Routing Table ระหว่างเร้าเตอร์
(Router) ตามเวลาที่กำหนด เนื่องจากเครือข่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เส้น
ทางการส่งข้อมูลที่ดีที่สุด อาจจะเป็นเส้นทางที่ใช้ไม่ได้ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
นี้ จะมีการติดต่อกันโดยใช้โปรโตคอลพิเศษคุยกันเรียกว่า Routing Protocol หรือ
โปรโตคอลสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล
42.5. การระบุเส้นทางด้วย Static Router และ Routing Protocol
Static Router การกำหนดเส้นทางการส่งผ่านข้อมูลแบบตายตัว เป็นการระบุเส้นทาง
ในการส่งผ่านข้อมูล โดยผู้ดูแลระบบเป็นผู้คิด และจัดทำขึ้น ให้แต่ละการเชื่อมต่อ
ระหว่างเครือข่าย และเตรื่องปลายทางมีเส้นทางที่ตายตัว จากนั้นเก็บเป็นข้อมูลเส้น
ทางลงเป็น Routing Table ใน Router ข้อมูลดังกล่าวจะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยน
แปลงระหว่างการทำงานของ Router ได้ แม้ว่าเครื่องปลายทางจะมีปัญหาห รือวงจร
เชื่อมโยงบางช่วงจะล้มไปก็ตาม
43. ฮับ (HUB) ในระบบเครือข่าย ทำหน้าที่อะไร
ฮับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณของอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน การจะทำให้
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องรู้จักกัน หรือส่งข้อมูลถึงกันได้จะต้องผ่านอุปกรณ์ฮับ (HUB) นี้
ปัจจุบันฮับถูกเปรียบเทียบกับ Switch ซึ่งมีความสามารถสูงกว่า และ ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์
มาตราฐานที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณในระบบเครือข่าย
ฮับ (HUB) โดยทั่วไปจะมีลักษณเหมือนกล่องสีเหลี่ยมแต่แบนมีความสูงประมาณ 1-3 นิ้ว
แล้วแต่รุ่นมีช่องเล็กๆ เอาไว้เสียบต่อสายแลนแต่ละเส้นที่ลากโยงมาจากคอมพิวเตอร์ ฮับ
(HUB) มีหลายแบบ เช่น 4 Ports กับ 8 Ports กับ 16 Ports กับ 24 Ports หรือ 48 Ports
เป็นต้น หน้าตารูปร่างของ ฮับ (HUB) จะเหมือนกับ สวิทซ์ (Switch) ดังนั้นในการเลือกซื้อ
ควรตรวจสอบให้ดีก่อน
ฮับ (HUB) ทำงานอย่างไร
เมื่อใดที่มีคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายต้องการส่งข้อมูล ฮับ (HUB) จะทำหน้าที่ในการทำ
สำเนาข้อมูล และส่งไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่าย ไม่ใช่แค่ส่งข้อมูลเฉพาะเครื่อง
คอมพิวเตอร์ แต่รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยเช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) กับระบบควบคุมทางประตู
(Access Control) กับกล้องวงจรปิด (CCTV) เป็นต้น แบบส่งข้อมูลไปทั้งหมด และถ้าข้อมูล
นี้เป็นของอุปกรณ์ใด อุปกรณ์นั้นก็จะรับเองอัตโนมัติ และจุดด้อยของ ฮับ (HUB) ที่ควรทราบ
คือ เวลามีอุปกรณ์ใดกำลังส่งข้อมูลในเครือข่ายผ่าน ฮับ (HUB) อยู่อุปกรณ์อื่นๆ จะต้องรอให้
การส่งข้อมูลอุปกรณ์นั้นเสร็จสิ้นก่อน ถึงจะส่งได้ตามลำดับ เปรียบเทียบได้กับรถที่วิ่งบนถนน
แบบทางเดียว (One-Way) ที่ห้ามขับรถสวนทางกัน ฮับ (HUB) ก็ห้ามส่งข้อมูลสวนทางกัน
ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของฮับ
– ความเร็วต่ำสุด คือ 10 MBPS
– ความเร็วสูงสุด คือ 100 MBPS
– บางรุ่นรองรับทั้ง 10 และ 100 ในเครื่องเดียวกัน เรียกว่า 10/100 MBPS
MBPS ย่อมาจาก Mega Bit Per Second (เมกกะบิตต่อวินาที)
ระยะทางจากฮับ (HUB) ถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย โดยปกติเรา
สามารถต่อสายแลนจากคอมพิวเตอร์เข้ากับ ฮับ (HUB) ได้ ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร
(มาตราฐานนี้ใช้กับสายแลน (LAN Cable) ประเภท UTP Cat5, Cat5e)
ฮับ (HUB) นั้นจะทำงานในระดับ Layer 1 ซึ่งเป็น Layer เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการส่ง
สัญญาณออกไปสู่มีเดีย (Media) หรือ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึงเรื่องของการเข้า
รหัสสัญญาณ เพื่อที่จะส่งออกไปเป็นค่าต่างๆ ในทางไฟฟ้า และ เป็นเลเยอร์ (Layer) ที่
กำหนดถึง การเชื่อมต่อต่างๆ ที่เป็นไปในทาง Physical Hub จะทำงานในลักษณะของการ
ทวนสัญญาณ หมายถึงว่า จะทำการทำซ้ำสัญญาณนั้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกับการ
ขยายสัญญาณพอทำแล้วก็จะส่งออกไปยังเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่ โดยจะส่งออกไปยังทุกๆ
พอร์ต (Port) ยกเว้น พอร์ต (Port) ที่เป็นตัวส่งสัญญาณออกมา และเมื่อปลายทางแต่ละจุด
รับข้อมูลไปแล้ว ก็จะต้องพิจารณาข้อมูลที่ได้มาว่าข้อมูลนั้นส่งมาถึงตัวเองหรือไม่ ถ้าหากไม่
ใช่ข้อมูลที่จะส่งมาถึงตัวเอง ก็จะไม่รับข้อมูลที่ส่งมานั้น การทำงานในระดับนี้ ถ้าดูในส่วนของ
ตัวฮับ (HUB) เองนั้น จะเห็นได้ว่า ตัวของ ฮับ (HUB) นั้นเวลาส่งข้อมูลออกไป จะไม่มีการ
พิจารณาข้อมูลอย่างพวก Mac Address ของ Layer 2 หรือ IP Address ซึ่งเป็นของ Layer
3 เลย
44. สวิทซ์ (Switch) คืออะไร
สวิทซ์ (Switch) คือ อุปกรณ์เครือข่ายที่จะทำหน้าที่ใน เลเยอร์ (Layer) ที่ 2 และ สวิทซ์
(Switch) บางทีก็จะเรียกว่าสวิทซ์ชิ่งฮับ (Switching Hub) ซึ่งในช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า บริดจ์
(Bridge) เหตุผลที่เรียกว่า บริดจ์ (Bridge) ในช่วงแรกนั้น เพราะส่วนใหญ่บริดจ์ (Bridge) จะ
มีแค่ 2 พอร์ต (Port) และใช้สำหรับแยก คอลลิชันโดเมน ปัจจุบันที่เรียกว่า สวิทซ์ (Switch)
เพราะหมายถึงบริดจ์ (Bridge) ที่มีพอร์ต (Port) ต่อใช้งานมากกว่า 2 พอร์ต นั่นเอง
สวิทซ์ (Switch) จะฉลาดกว่า ฮับ (HUB) คือ สวิทซ์ (Switch) สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมา
จากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตที่เป็นปลายทางเท่านั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับ
พอร์ตที่เหลือ สามารถส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ในเวลาเดียวกัน การทำเช่นนี้ทำให้อัตราการ
ส่งข้อมูล (Data) หรือ แบนด์วิธ (Bandwidth) ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้า
กับ สวิทซ์ (Switch) โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกๆเครื่องจะมีแบนด์วิธ (Bandwidth) เท่ากับ
แบนด์วิธ (Bandwidth) ของ สวิทซ์ (Switch) ด้วยข้อดีนี้เครือข่ายที่ติดตั้งระบบเครือข่ายใหม่
ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะนิยมใช้สวิทซ์ (Switch) มากกว่าฮับ (HUB) เพราะจะไม่มีปัญหาเกี่ยว
กับการชนกันของข้อมูลในเครือข่าย
สวิทซ์ (Switch) กับ ฮับ (HUB) แตกต่างกันอย่างไร
สวิทซ์ (Switch) กับ ฮับ (HUB) จะทำหน้าที่คล้ายกันเพียงแต่ ฮับ (HUB) เวลาส่งข้อมูลนั้นจะ
เป็นแบบ Broadcast กระจายไปทุกเครื่อง แต่ถ้าเป็นสวิทซ์ (Switch) จะดูว่าข้อมูลนี้เป็นของ
เครื่องไหนแล้วค่อยส่งไปยังเครื่องนั้นๆดังนั้นฮับ (HUB) จึงสามารถเชื่อมต่อระบบแลน (LAN)
ได้มากกว่า นอกจากนี้ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ต่างกัน ความเร็วฮับ (Speed HUB) คือ
Speed / N เช่น LAN 100 Mbps เชื่อมต่อกัน 10 เครื่อง ทุกๆเครื่องที่เชื่อมต่อจะได้เพียงแค่
10 Mpbs แต่ในส่วนความเร็วสวิทซ์ (Speed Switch) ถ้า LAN 100 Mbps เชื่อมต่อกัน 10
เครื่อง ทุกๆเครื่องที่เชื่อมต่อจะได้ 100 Mbps เท่ากันทั้งหมด สวิทซ์ (Switch) มีหลายแบบ
เช่น แบบ 4 Ports กับ 8 Ports กับ 16 Ports กับ 24 Ports หรือ 48 Ports เป็นต้น หน้าตา
รูปร่างของสวิทซ์ (Switch) จะเหมือนกับ ฮับ (HUB) ดังนั้นในการเลือกซื้อควรตรวจสอบให้
ดีก่อน
45. PoE Switch หรือ Power over Ethernet Switch
คือ Ethernet Switch ที่สามารถจ่ายไฟกระแสตรง (DC) ไปในพอร์ตข้อมูล (Data Port) ได้
ทำให้ไม่ต้องเดินสายไฟ (Power Outlet) ให้กับอุปกรณ์ชนิดนั้นๆแยกต่างหาก ทำให้จะช่วย
ประหยัดสายไฟในการเดินระบบ และยังประหยัดเวลาในการติดตั้งระบบด้วย นอกจากนี้ยัง
สะดวกต่อการจัดการในระบบศูนย์กลาง XNVR กับ NVR หรือ Monitoring Center และยัง
ง่ายต่อการสำรองไฟ (UPS) ให้กับระบบอุปกรณ์ทั้งหมด PoE Switch นิยมใช้กันมากในระบบ
IP Camera, Access Control, Fire Alarm, Wireless LAN , Access Point ฯลฯ