Mr. Somboon Kangsanonkul

Fire Alarm System – ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

NOTIFIER FIRE ALARM SYSTEM

 

 

ระบบป้องกันอัคคีภัย หรือ ระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System) คือ

ระบบที่สามารถตรวจจับการเกิดเหตุเพลิงไหม้ และ แจ้งผลให้ผู้อยู่ในอาคารทราบ โดยอัตโนมัติ

ระบบที่ดีจะต้องตรวจจับและแจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และ มีความเชื่อถือได้สูง เพื่อให้ผู้

อยู่ภายในอาคารสถานที่มีโอกาสดับไฟในระยะลุกไหม้เริ่มต้นได้มากขึ้น และ มีโอกาสที่จะอพยพ

หลบหนีไฟออกจากอาคารสถานที่ไปยังที่ปลอดภัยได้มากที่สุด ซึ่งจะเป็นผลให้ลดความสูญเสีย

ต่อชีวิตและทรัพย์สินได้มาก การเกิดอัคคีภัยก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน สาเหตุ

ส่วนใหญ่จะมาจากใน ขณะที่เริ่มเกิดเหตุเพลิงไหม้ จะไม่มีคนอยู่ในบริเวณพื้นที่ๆเกิดเหตุ หรือเกิด

ในบริเวณที่ไม่มีคนมองเห็นได้ ซึ่งกว่าเจ้าของสถานที่นั้น จะทราบเหตุเพลิงไหม้็ก็ลุกลามจนเกิน

กำลังที่ คนในสถานที่เพียงไม่กี่คน หรือ อุปกรณ์ถังดับเพลิงขนาดเล็กที่มีอยู่ภายในสถานที่จะใช้

ทำการสกัดกั้น หรือดับเหตุเพลิงไหม้ได้ ดังนั้นอาคารสถานที่ต่างๆ หรืออาคารสถานที่ ที่กฎหมาย

กำหนดให้ต้องมีระบบการแจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย จึงได้มีการนำเอาระบบอุปกรณ์สัญญาณแจ้งเตือน

เหตุอัคคีภัย มาติดตั้งไว้ภายในสถานที่ เพื่อให้คนภายในสามารถที่รับรู้ถึงเหตุการณ์ล่วงหน้าก่อน

ที่เหตุเพลิงไฟจะลุกลาม และอพยพออกจากภายในสถานที่เกิดเหตุได้ทันการก่อนที่จะไม่สามารถ

จะระงับเหตุเพลิงไหม้ได้ โดยที่การติดตั้งระบบอุปกรณ์สัญญาณแจ้งเตือนเหตุอัคคีภัยนี้จะช่วยให้

เจ้าของอาคารสถานที่ต่างๆ ลดการสูญเสียชีวิต ของผู้ที่อยู่ในอาคารสถานที่ และ ลดการสูญเสีย

ทรัพย์สินต่างๆภายในอาคารสถานที่ได้เป็นอย่างดี

 

 

คลิกเลือกดูชุดอุปกรณ์ต่างๆของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

1. ตู้ควบคุม แบบธรรมดา (Conventional) 2 โซน รุ่น SFP-2402E »

2. ตู้ควบคุม แบบธรรมดา (Conventional) 4 โซน รุ่น SFP-2404E »

3. ตู้ควบคุม แบบธรรมดา (Conventional) 5 โซน รุ่น SFP-5UDE »

4. ตู้ควบคุม แบบธรรมดา (Conventional) 10 โซน รุ่น SFP-10UDE »

5. ตู้ควบคุม แบบธรรมดา (Deluge Preaction) 6 โซน รุ่น RP2001E »

6. ตู้ควบคุม แบบธรรมดา (Agent Release) 6 โซน รุ่น RP2002E »

7. ตู้ควบคุม แบบระบุตำแหน่ง (Addressable) 1 ลูป รุ่น NFS-320E »

8. ตู้ควบคุม แบบระบุตำแหน่ง (Addressable) 1 ลูป ถึง 2 ลูป รุ่น NFS2-640E »

9. ตู้ควบคุม แบบระบุตำแหน่ง (Addressable) 1 ลูป ถึง 10 ลูป รุ่น NFS2-3030E »

10. ตู้ควบคุมระบบ ของ Notifier ที่ได้ยกเลิกการผลิต (Discontinued) »

11. อุปกรณ์โมดูลระบุตำแหน่งต่างๆ (All Addressable Module) »

12. อุปกรณ์เสริมสำหรับชุดควบคุม (Accesseries Notifier Devices) »

13. ตู้ควบคุมและแสดงผลระยะไกล (Remote Annunciator) »

14. ตู้แผนผังแสดงจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้ (Graphic Annunciator) »

15.. อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Smoke Detector) »

16. อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบธรรมดา (Conventional Smoke Detector) »

17. อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบสุ่มอากาศ (VESDA Aspirating Smoke Detector) »

18. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Heat Detector) »

19. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดแม็กคานิกส์ ธรรมดา (Conventional Machnical Heat) »

20. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ชนิดอิเล็คโทรนิคส์ ธรรมดา (Conventional Electronic Heat) »

21. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ชนิดแท่ง แบบธรรมดา (Rate-Anticipation Heat Detector) »

22. อุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยลำแสงบีม แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Beam Smoke) »

23. อุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม แบบธรรมดา (Reflective Beam Smoke) »

24. อุปกรณ์ตรวจจับควัน ในท่อระบายอากาศ (Duct Smoke Detector) »

25. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detectors) ทั้งแบบ UV , IR , UV/IR , IR3 »

26. อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส (Gas Detectors) »

27. อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือ แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Manual) »

28. อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือ แบบธรรมดา (Conventional Manual) »

29. อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยเสียงหรือแสง (Bell ,Horn ,Strobe, Speaker) »

30. อุปกรณ์ชนิดป้องกันการระเบิดในตัวเอง แบบต่างๆ (Explosion-proof Devices) »

31. อุปกรณ์ยึดประตูด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (Door Holder) »

32. การออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยเบื้องต้น (Design Fire Alarm System) »

33. การดูแลบำรุงรักษาระบบป้องกันอัคคีภัย (Maintainance Fire Alarm System) »

34. อุปกรณ์เทสกับทำความสะอาดอุปกรณ์ตรวจจับ (Tester & Cleaner Smoke/Heat) »

35. ถาม-ตอบปัญหาของระบบป้องกันอัคคีภัย (Article Fire Alarm System) »

 

 

ส่วนประกอบของ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

โดยส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบสัญญาณแจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย จะมีอยู่ 5 ส่วน ประกอบการ
ทำงานหลัก ซึ่งทั้งหมดจะทำงานเชื่อมโยงกันเป็นระบบ คือ แผงควบคุม , ชุดจ่ายไฟ , อุปกรณ์
เริ่มสัญญาณ , อุปกรณ์แจ้งสัญญาณ , อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ

 

1. ตู้แผงควบคุม (Fire Alarm Control Panel)

    เป็นส่วนที่ใช้ควบคุม และตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ และสั่งการทำงานส่วนต่างๆใน
    ระบบทั้งหมด

จะประกอบด้วย
– วงจรตรวจคุมคอยรับสัญญาณจากอุปกรณ์เริ่มสัญญาณ,
– วงจรทดสอบการทำงาน
– วงจรป้องกันระบบ
– วงจรสัญญาณแจ้งการทำงานในสภาวะปกติ และภาวะขัดข้อง เช่น สายไฟจากอุปกรณ์ตรวจ
    จับขาด , แบตเตอรี่ต่ำ , ไฟฟ้าที่จ่ายตู้แผงควบคุมโดนตัดขาด หรือมีปัญหา เป็นต้น
– ตู้แ้ผงควบคุม (FCP) จะมีไฟ LED , เสียงแสดงสภาวะต่างๆ และสวิทซ์ปุ่มกดต่างๆ บนหน้าจอ
    ตู้ควบคุม เช่น
– Fire Lamp : จะติดเมื่อเกิดเพลิงไหม้
– Main Sound Buzzer : จะมีเสียงดังขณะแจ้งเหตุ
– Zone Lamp : จะติดค้างแสดงโซนที่เกิด Alarm
– Trouble Lamp : แจ้งเหตุขัดข้องต่างๆของระบบ
– Control Switch : สำหรับการควบคุม เช่น เปิด/ปิดเสียงที่ตู้ควบคุม และกระดิ่ง ,ทดสอบการ
    ทำงานของระบบตู้ควบคุม , ทดสอบ Battery
– Reset : คืนค่าระบบหลังเหตุการณ์เป็นปกติ

 

2. ชุดจ่ายไฟ (Power Supply)

    ชุดจ่ายไฟ เป็นอุปกรณ์แปลงกำลังไฟฟ้าของแหล่งจ่ายไฟมาเป็นกำลังไฟฟ้ากระแสตรง ที่ใช้
    ในการทำงานของระบบควบคุม และจะต้องมีระบบไฟฟ้าสำรอง เพื่อให้ระบบทำงานได้ในขณะ
    ที่ไฟฟ้าปกติของสถานที่ดับ

 

3. อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Devices)
เป็นอุปกรณ์ต้นกำเนิดของ สัญญาณแจ้งเตือนอัคคีภัย ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

3.1 อุปกรณ์เริ่มสัญญาณด้วยมือจากบุคคล (Manual Station) มี 2 แบบ คือ
– แบบอุปกรณ์ใช้มือดึงคันโยกลงหรือใช้มือกด (Push or Pull Down Manual Station)
– แบบอุปกรณ์ใช้มือทุบกระจกแตก หรือทุบกระจกแตกและกดปุ่ม (Break Glass)

3.2 อุปกรณ์เริ่มสัญญาณโดยอัตโนมัติ
เป็นอุปกรณ์อัตโนมัติที่มีปฎิกิริยาไวต่อสภาวะ ตามระยะต่างๆ
ของการเกิดเพลิงไหม้ ได้แก่
3.2.1 อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector)
3.2.2 อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
3.2.3 อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector)
3.2.4 อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส (Gas Detector)

อุปกรณ์เริ่มสัญญาณแบบอัตโนมัติ (Automatic Initiation Devices) มีหลายชนิดดังนี้

3.2.1. อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) แบ่งออกเป็น 2 แบบดังนี้

– อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดไอออนไนเซชั่น (Ionization Smoke Detector) อุปกรณ์ชนิดนี้
เหมาะสำ หรับใช้ตรวจจับสัญญาณควันในระยะเริ่มต้นที่มีอนุภาคของควันเล็กมาก Ionization
Detector ทำงานโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางไฟฟ้า โดยใช้สารกัมมันตภาพ
รังสีปริมาณน้อยมากซึ่งอยู่ใน Chamber ซึ่งจะทำ ปฎิกิริยากับอากาศที่อยู่ระหว่างขั้วบวก และ
ขั้วลบ ทำให้ความนำ ไฟฟ้า (Conductivity) เพิ่มขึ้นมีผลให้กระแสสามารถไหลผ่านได้ โดย
สะดวก เมื่อมีอนุภาคของควันเข้ามาใน Sensing Chamber นี้ อนุภาคของควันจะไปรวมตัวกับ
อิออน จะมีผลทำ ให้การไหลของกระแสลดลงด้วย ซึ่งทำให้ตัวตรวจจับควันแจ้งสถานะ Alarm

– อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดโฟโต้อิเลคตริก (Photoelectric Smoke Detector) เหมาะสำหรับ
ใช้ตรวจจับสัญญาณควันในระยะที่มีอนุภาคของควันที่ใหญ่ขึ้น Photoelectric Smoke Detector
ทำงานโดยใช้หลักการสะท้อนของแสง เมื่อมีควันเข้ามาในตัวตรวจจับควันจะไปกระทบกับแสง
ที่ออกมาจาก Photoemiter ซึ่งไม่ได้ส่องตรงไปยังอุปกรณ์รับแสง Photo Receptor แต่แสง
ดังกล่าว บางส่วนจะสะท้อนอนุภาคควันและหักเหเข้าไปที่ Photo Receptor ทำให้วงจรตรวจจับ
ของตัวตรวจจับควันส่งสัญญาณแจ้ง Alarm

3.2.2. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน เป็นอุปกรณ์แจ้งอัคคีภัยอัตโนมัติรุ่นแรกๆ มีหลายชนิด ซึ่งนับได้ว่าเป็น
อุปกรณ์ที่ราคาถูกที่สุดและ มีสัญญาณหลอก (Fault Alarm) น้อยที่สุดในปัจจุบัน อุปกรณ์
ตรวจจับความร้อนที่นิยมใช้กันมีดังต่อไปนี้

– อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ (Rate-of-Rise Heat Detector)
อุปกรณ์ชนิดนี้จะทำ งานเมื่อมีอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ 10 องศาเซลเซียส
ใน 1 นาที ส่วนลักษณะการทำงานในส่วนด้านบนของส่วนรับความร้อน เมื่อถูกความร้อนจะขยาย
ตัวอย่างรวดเร็วมากจนอากาศที่ขยายไม่สามารถเล็ดลอดออกมาในช่องระบายได้ ทำให้เกิดความ
ดันสูงมากขึ้น และไปดันแผ่นไดอะแฟรมให้ดันขาคอนแทคแตะกัน ทำให้อุปกรณ์ตรวจจับความ
ร้อน นี้จะส่งสัญญาณไปยังตู้ควบคุม

– อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature Heat Detector)
อุปกรณ์ชนิดนี้จะทำงาน เมื่ออุณหภูมิของ Sensors สูงถึงจุดที่กำหนดไว้
ซึ่งมีตั้งแต่ 57 องศาเซลเซียส ไปจนถึง 150 องศาเซลเซียส การทำงานอาศัยหลักการของโลหะ
สองชนิด เมื่อถูกความร้อนแล้วมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวแตกต่างกัน เมื่อนำโลหะทั้งสองมาแนบ
ติดกัน (Bimetal) และให้ความร้อนจะเกิดการขยายตัวที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดบิดโค้งงอไปอีก
ด้านหนึ่ง เมื่ออุณหภูมิลดลงก็จะคืนสู่สภาพเดิม

– อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดรวม (Combination Heat Detector) อุปกรณ์ชนิดนี้ได้รวมเอา
คุณสมบัติของ Rate of Rise และ Fixed Temp.เข้ามาอยู่ในตัวเดียวกัน เพื่อตรวจจับความร้อน
ที่เกิดได้ทั้งสองลักษณะ

3.2.3 อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector)
โดยปกติจะนำ ไปใช้ในบริเวณพื้นที่อันตรายและมีความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้สูง (Heat Area)
เช่น คลังจ่ายนํ้ามัน, โรงงานอุตสาหกรรม, บริเวณเก็บวัสดุที่เมื่อติดไฟจะเกิดควันไม่มาก หรือ
บริเวณที่ง่ายต่อการระเบิด หรือ ง่ายต่อการลุกลาม อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟจะดักจับความถี่
คลื่นแสงในย่านอุลตร้าไวโอเล็ท ซึ่งจะมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 0.18-0.36 ไมครอน ที่แผ่
ออกมาจากเปลวไฟเท่านั้น แสงสว่าง ที่เกิดจากหลอดไฟ และ แสงอินฟราเรดจะไม่มีผลทำให้
เกิด Fault Alarm ได้

3.2.4 อุปกรณ์ตรวจจับก๊าซและแก๊ส (CO Sensor – Gas Detector)
คือ อุปกรณ์ตรวจจับกีาซ Carbon Monoxide (CO) และ แก๊ส Gas
หน้าที่หลัก จะตรวจจับ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ แก๊สธรรมชาติ Natural gas , แก๊ส LPG
ระดับการแจ้งเตือน Alarm level : 10% LEL of Natural gas , 100 PPM of CO
(Photoelectric Smoke Detector with Heat and Carbonmonoxide Sensors)
เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันแบบลำแสง ร่วมกับการตรวจจับความร้อน และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์
ทำงานที่อุณหภูมิเพิ่มมากกว่า +135?F (+57?C)

 

4. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณด้วยเสียงและแสง (Audible & Visual Signalling Alarm Devices)
หลังจากอุปกรณ์เริ่มสัญญาณทำ งานโดยส่งสัญญาณมายังตู้ควบคุม (FCP) แล้ว ตู้ควบคุม FCP
จึงส่งสัญญาณออกมาโดยผ่านอุปกรณ์แจ้งสัญญาณด้วยเสียงและแสง ได้แก่
– กระดิ่งม
– ไซเรนเสียง
– ไซเรนเสียงและแสง
– ไฟสัญญาณต่างๆ เป็นต้น
เพื่อให้ผู้อยู่ภายในสถานที่ , ผู้รับผิดชอบ หรือ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการดับเพลิง ได้ทราบว่ามี
เหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้น

 

5. อุปกรณ์ประกอบ (Auxiliary Devices)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานเชื่อมโยง กับระบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมป้องกัน และดับเพลิงโดยจะ
ถ่ายทอดสัญญาณระหว่างระบบเตือนอัคคีภัยกับระบบอื่น เช่น

5.1 ส่งสัญญาณกระตุ้นการทำ งานของระบบบังคับลิฟท์ลงชั้นล่าง , การปิดพัดลมในระบบปรับ
อากาศ , เปิดพัดลมในระบบระบายอากาศ , เปลี่ยนแปลงเพื่อควบคุมควันไฟ , การควบคุมเปิด
ประตูทางออก , เปิดประตูหนีไฟ , ปิดประตูกันควันไฟ , ควบคุมระบบกระจายเสียง และ การ
ประกาศแจ้งข่าว , เปิดระบบดับเพลิง เป็นต้น

5.2 รับสัญญาณของระบบอื่นมากระตุ้นการทำ งานของระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย เช่น จากระบบ
พ่นนํ้าปั๊มดับเพลิง , ระบบดับเพลิงด้วยสารเคมีชนิดอัตโนมัติ เป็นต้น

 

การพิจารณาเลือกซื้อและติดตั้ง อุปกรณ์ตรวจจับ ในบริเวณต่างๆ ควรจะคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของชีวิตกับ ความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยภายในบริเวณต่างๆของสถานที่
และลักษณะของเพลิงไหม้ที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่จะได้กำหนดจุดออกแบบการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ
ให้เหมาะสมกับสถานที่ และจะได้ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเกินไป

การออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัย

ผู้ออกแบบควรทำความเข้าใจลักษณะของสิ่งที่จะป้องกัน (Hazard) ให้ดีเสียก่อนอย่างน้อยควร

พิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ องค์ประกอบของไฟ คือ ออกซิเจน ความร้อน เชื้อเพลิง และ

ปฏิกิริยาลูกโซ่การเผาไหม้

เชื้อเพลิงประเภท A คือ เชื้อเพลิงอินทรีย์ที่เป็นของแข็ง

เชื้อเพลิงประเภท B คือ น้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ ยกเว้นน้ำมันสำหรับประกอบอาหาร

เชื้อเพลิงประเภท C คือ เชื้อเพลิงที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไหลอยู่

เชื้อเพลิงที่เกี่ยวข้อง : ปริมาณ และ ชนิด ของเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกๆ ในการเลือก

สารดับเพลิง และ วิธีการส่งสารดับเพลิง

ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น : เป็นปัจจัยในการตัดสินความจำเป็น ในการใช้ระบบป้องกันอัคคีภัย

ความคาดหวังผลการป้องกัน : สำหรับกำหนดสมรรถนะของระบบป้องกันอัคคีภัยที่ต้องการ

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะหาได้จากการศึกษา ลักษณะของกิจการต่างๆ ที่จะออกแบบระบบป้องกัน

อัคคีภัยไว้ป้องกัน เช่น โรงแรม , โรงงาน , คอนโดมิเนียม , โรงงานปิโตรเคมี , คลังสินค้า ,

ธนาคาร ฯลฯ แต่ละกิจการจะมีแนวทางปฏิบัติ และข้อกำหนดต่างๆ ของตนเอง ซึ่งจะมีประโยชน์

อย่างมากกับการออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยที่เหมาะสม

 

การเลือกระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

1. ควรเลือกระบบที่ผ่านมาตรฐานการทดสอบและรับรองคุณภาพ จาก UL , FM เป็นต้น

2. ระบบอุปกรณ์และการติดตั้ง ควรเป็นไปตามมาตรฐาน NFPA และ มาตรฐานของทาง
    วสท.กำหนดไว้

3. ควรเลือกซื้อกับบริษัทฯที่มีประสบการณ์ และ มีความชำนาญในระบบ อย่างแท้จริง

4. แบรนด์สินค้า ควรเป็นแบรนด์ที่มีผู้ให้การยอมรับและเลือกใช้เป็นจำนวนมาก

5. ควรเลือกระบบอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับ สถานที่ติดตั้งจริง

6. ควรเน้นเรื่องการบริการหลังการขาย และการบำรุงรักษาระบบอุปกรณ์จากบริษัทฯ ผู้ขาย

 

สิ่งสำคัญในการใช้งานระบบแจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย

1. ควรเก็บแบบแปลนการเดินท่อ เและดินสายสัญญาณ ของสถานที่ติดตั้งระบบแจ้งเตือนเหตุ
    อัคคีภัย ให้ขอแบบอัพเดทล่าสุดที่ติดตั้งเสร็จจริง จากบริษัทผู้ทำการติดตั้ง

2. ควรเก็บแบบแปลนตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ทุกจุด ของสถานที่ติดตั้งระบบแจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย
    ให้ขอแบบอัพเดทล่าสุดที่ติดตั้งเสร็จจริง จากริษัทฯผู้ขายและทำการติดตั้ง

3. ควรตรวจนับอุปกรณ์ทั้งหมดที่สรุปซื้อ และ ตรวจสอบเทสระบบอุปกรณ์ให้แน่ใจก่อนรับ
    ส่งมอบงาน

4. ควรขอสัญญาเงื่อนไขการรับประกันการติดตั้งและสินค้าทั้งหมด จากริษัทฯผู้ขายและทำการ
    ติดตั้ง

5. ควรขอตารางวัน เวลา ของการบริการตรวจเช็คระบบหลังการขาย จากบริษัทฯผู้ขาย

6. ควรจะเก็บคู่มือการใช้งานระบบอุปกรณ์ทั้งหมดไว้เป็นอย่างดี ให้ขอจากริษัทฯผู้ขายและทำ
    การติดตั้ง

7. ควรจัดหาผู้รับผิดชอบ ควบคุมและจัดการระบบแจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย อย่างน้อย 2 ท่าน ในการ
    เข้ารับการอบรมการใช้งานอุปกรณ์ และอบรมระบบจัดเตรียมป้องกันอัคคีภัย

8. ควรจะมีการเทสระบบการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมด อย่างน้อย 6 เดือนครั้ง

9. ควรจะมีการเตรียมการซ้อมหนีไฟ กรณีเกิดเหตุการจริง อย่างน้อย 4 เดือนครั้ง

10. ควรจะมีการตรวจเช็คและทำความสะอาดระบบอุปกรณ์ทั้งหมด ปีละ 2 ครั้ง

 

สอบถามข้อมูลโดยตรงได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-740-3975 – 6 – 8

 

 

CCTV – ระบบกล้องวงจรปิด

Closed Circuit Television System

 

 

ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด หรือ ระบบ CCTV เหมาะสำหรับงานรักษาความปลอดภัย ที่ใช้ตรวจ

การณ์เฝ้าระวังภัย หรือ สอดส่องดูแล ด้วยการจับดูภาพในตำแหน่งที่ต้องการ และบันทึกภาพเก็บ

ไว้ดูเหตุการณ์ต่างๆู ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ที่ทางบริษัทฯ จัดจำหน่ายจะมีอยู่ 1 แบรนด์ดัง

คือ TELCA สาเหตุที่ต้องจัดจำหน่ายเพียง 1 แบรนด์ เพราะในอดีตทางบริษัทฯ ได้เป็นตัวแทน

จำหน่ายกล้องวงจรปิด มาแล้วเกือบทุกๆแบรนด์ และ พบเห็นปัญหาของ ตัวกล้อง และ เครื่อง

บันทึกภาพของแต่ละแบรนด์มามาก เมื่อนโยบายทางการตลาดของบริษัทฯ ผู้ผลิตและ ผู้นำเข้า

เปลี่ยนแปลงไป โดยกำหนดเงื่อนไขของการสั่งซื้อสินค้าใหม่คือ ให้ทางบริษัทตัวแทนจำหน่าย

ต้องมีการรับยอดขายสินค้า ทำให้ทางบริษัทฯ จำเป็นจะต้องเลือกจำหน่ายแต่ ตัวกล้อง และ

เครื่องบันทึกภาพ ที่มีคุณภาพดี มีความคมชัดสูง และ มีระบบการทำงานต่างๆที่ดี กับ ไม่มีปัญหา

ในเรื่องอายุการใช้งาน ของ ตัวกล้อง และ เครื่องบันทึกภาพ ดังนั้น ทางบริษัทฯ จึงได้เลือกที่จะ

จำหน่ายเพียงแค่ 1 แบรนด์นี้ ในส่วนระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดจะต้องมีส่วนประกอบในการทำ

งานด้วยกัน 3 ส่วนคือ

1. ส่วนรับภาพ เช่น ตัวกล้องแบบต่างๆ และ อุปกรณ์เสริมสำหรับตัวกล้องต่างๆ

2. ส่วนจัดการภาพ เช่น เครื่องบันทึกภาพแบบต่างๆ และ จอแสดงภาพ กับอุปกรณ์เสริมต่างๆ

3. ส่วนของสื่อนำสัญญาณ เช่น สายนำสัญญาณภาพ กับสายไฟเลี้ยง กับ อุปกรณ์เสริมการนำ
    สัญญาณภาพกับการติดตั้งระบบที่มีมาตรฐาน โดยทีมช่างที่มีความชำนาญ และรู้จริงในเรื่อง
    วิธีการติดตั้งระบบที่ถูกต้อง

 

 

CCTV SYSTEM

 

 

ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด XXXXX เป็นสินค้าคุณภาพ จากประเทศไตหวัน ที่ผลิตและพัฒนา

ระบบอย่างต่อเนื่องจากโรงงาน ของ เจ้าของผลิตภัณฑ์ โดยตรงเป็นสินค้าคุณภาพ เกรด A ใน

ประเทศ XXXXX และประเทศต่างที่จำหน่าย อุปกรณ์สินค้าของ XXXXX ได้ผ่านการทดสอบและ

ได้รับรองมาตรฐานจากสถาบันต่างๆ มากมาย และ มีผู้ใช้ระบบกล้องวงจรปิด XXXXX มากกว่า 7

ประเทศทั่วโลก ระบบกล้องวงจรปิด XXXXX จะเน้นเรื่องของ ความคมชัดที่กลางๆ ทั้ง ตัวกล้อง

กับเครื่องบันทึกภาพ และ เน้นราคาอุปกรณ์สินค้าที่ไม่แพง มีการใช้งานที่ดีเหมาะสมกับราคา มี

อุปกรณ์ใหได้้เลือกใช้งานเต็มระบบการทำงาน มีคุณภาพไม่เป็นรองตัวกล้องของ จีน ทุกๆ ยี่ห้อ

ตัวกล้องทุกประเภทของ XXXXX และ เครื่องบันทึกภาพ จะรับประกันอุปกรณ์สินค้านานถึง 2 ปี

 

 

 

Powered by WordPress | T-Mobile Phones for Sale at BestInCellPhones.com | Thanks to Free Phones at iCellPhoneDeals.com, Free MMORPG Games and Fat burning furnace review
Mr. Somboon Kangsanonkul