Mr. Somboon Kangsanonkul

Access Control – ระบบคีย์การ์ด

ACCESS CONTROL SYSTEM

 

 

ระบบคีย์การ์ด หรือระบบควบคุมการเข้า-ออกประตูของสถานที่ แบบใช้รหัสผ่านเข้า หรือใช้บัตร

ทาบเข้า จะเป็นระบบที่ใช้สำหรับควบคุมการเข้า-ออกทางประตูต่างๆ ที่ทางสถานที่นั้นๆไม่ต้อง

การให้ใครผ่านเข้า-ออก โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางสถานที่ก่อน ส่วนบุคคลที่ได้รับอนุญาตก็

จะต้องมีรหัสผ่านเข้าไป หรือมีบัตรที่จะใช้ในการทาบกับเครื่องอ่านบัตรผ่านเข้าไป หรือมีบุคคล

ภายในสถานที่ กดปุ่มสวิทซ์ อนุญาตให้ผ่านเข้าไปได้เท่านั้น

 

 

การทำงานของระบบนี้ คือ การนำเอาอุปกรณ์ล็อคไฟฟ้าแบบต่างๆ เข้ามาทำงานร่วมกับ เครื่อง

อ่านบัตรทาบ ในการควบคุมการเปิด-ปิดประตูของสถานที่ต่างๆ และ ยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับ

เครื่องคอมพิวเตอร์ในการทำงาน โดยลงโปรแกรมซอฟแวร์ของเครื่องอ่านบัตรทาบยี่ห้อนั้นๆเข้า

ไป ซึ่งจะสามารถควบคุม และ จัดการระบบผ่านทางซอฟแวร์ได้อีกด้วย ในด้านคุณสมบัติ ของ

ซอฟแวร์ก็จะสามารถตั้งค่าการทำงาน ของ เครื่องอ่านบัตรทาบได้ , สามารถเพิ่ม หรือ ลบข้อมูล

บัตรทาบผ่านเข้า-ออกได้ , สามารถใส่ข้อมูลให้ผู้ถือบัตรแต่ละใบได้ , สามารถกำหนดสิทธิ์การ

อนุญาตการใช้บัตรเข้าประตูสถานที่ได้ , สามารถดู วันที่ และเวลา ของ บัตรทาบ หรือ รหัสผ่าน

ที่ใช้ผ่านเข้า-ออกได้ , สามารถนำข้อมูลระบบมาทำเป็น ระบบคิดเวลาการเข้างาน และเลิกเวลา

งานของพนักงานได้ ร่วมถึงการนำข้อมูลที่ส่งออกเป็นแบบ Text File ไปใส่ในโปรแกรม Payroll

เพื่อคำนวน วันเวลาทำงาน การขาด การลา การมาสาย และ คำนวนค่าโอที ในการคิดเงินเดือน

ให้พนักงาน

 

ชุดควบคุมระบบการเข้า-ออกของสถานที่ จะมีการทำงานอยู่ 3 ระบบ คือ

 

Stand-Alone Access Control System คือ ระบบทั้งหมดทำงานได้อิสระภายใน ชุดตัวเครื่อง
  อ่านแบบ Stand-Alone เพียงเครื่องเดียว ไม่ต้องเชื่อมต่อกับ ตู้ควบคุมระบบ หรือ ต่อกับ เครื่อง
  คอมพิวเตอร์ โปรแกรมการทำงานและการใช้งานทุกอย่างได้ภายในตัวเครื่อง สามารถติดตั้งควบ
  คุมได้ 1 – 2 บานประตูทางเข้า-ออก ของสถานที่ ในเครื่องอ่านตัวเดียว

 

Access Controller Network คือ ระบบที่ต้องนำอุปกรณ์ควบคุมทั้งหมด มาต่อทำงานร่วมกัน
  จนเป็นระบบ เช่น เครื่องอ่านบัตรเข้า ต่อกับเครื่องอ่านบัตรออก ต่อ อุปกรณ์ล็อคไฟฟ้าต่างๆ
  รวมถึง อุปกรณ์เสริมระบบอื่นๆ แล้วไปต่อกับตู้ควบคุมระบบในการควบคุมการทำงาน หรือต่อ
  เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ควบคุมระบบต่างๆ ด้วยโปรแกรมซอฟแวร์

 

Access Controller Network with web-based จะเป็นแบบ Non-PC based นั่น คือ อุปกรณ์
  ที่ต้องใช้ควบคุมระบบทั้งหมด จะต้องต่อทำงานร่วมกันจนเป็นระบบเหมือนกับ แบบ Access
  Controller Network ทั่วๆไป แต่ในการต่อเข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ จะไม่มีการ ลงโปรแกรม
  ซอฟแวร์ ใดๆ ไว้ที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ เพียงแค่มี Web-Browser เช่น Internet
  Explorer ก็สามารถควบคุมบริหารการจัดการระบบควบคุมการเข้า-ออกได้ โดยการเชื่อมต่อระบบ
  เข้าทางอินเตอร์เน็ต จะทำโดยการใช้ Ethernet Connection โดยมีลักษณะเป็น Network
  Ready System พร้อมที่จะต่อ เชื่อมกับ ISP เครือข่าย (Network) ที่มีอยู่แล้วเข้ากับ
  คอมพิวเตอร์ในการควบคุมบน Network

 

ชุดอุปกรณ์ระบบควบคุมการเข้า-ออกของสถานที่ จะมีดังนี้

 

1. อุปกรณ์เครื่องอ่านบัตร จะมีให้เลือกใช้งานอยู่ 3 ประเภท คือ

 

แบบ Stand-Alone คือ ตัวเครื่องอ่านบัตร สามารถที่จะโปรแกรมการใช้งานระบบได้ที่ ตัวเครื่องเลย เช่น
เพิ่มและลบข้อมูล การใช้งานบัตรทาบ หรือ ตั้งค่าการใช้งานรหัสผ่าน กับมีหน่วยความจำที่บันทึกข้อมูลการ
ใช้งานของระบบภายในตัวเครื่อง และ สามารถต่อเข้ากับชุดอุปกรณ์ล็อค และ อุปกรณ์เสริมประเภทอื่นๆได้
ภายใน ตัวเครื่องอ่านเลย สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องต่อกับตู้ควบคุม หรือต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ก็
สามารถต่อได้ถ้าจะใช้งานระบบร่วมกับซอฟแวร์ หรือต่อเป็นระบบเน็ตเวิร์คใช้เครื่องอ่านควบคุมหลายๆประตู

 

แบบ Proximity Reader คือ ตัวเครื่องอ่านบัตร จะต้องต่อกับ ตู้ควบคุมระบบ หรือคอมพิวเตอร์ ในการทำงาน
และโปรแกรมระบบการใช้งาน การต่อกับชุดอุปกรณ์ล็อคแบบต่างๆ หรือต่อกับอุปกรณ์เสริมการทำงานอื่นๆ
สามารถทำได้แต่บางรุ่นก็ต้องต่อผ่าน ตู้ควบคุมระบบ ในการทำงานร่วมกัน

 

แบบ Wiegand Reader คือ เครื่องอ่านบัตรอย่างเดียว ไม่สามารถโปรแกรมระบบได้จาก ตัวเครื่องอ่าน
จะต้องต่อเชื่อมกับ เครื่องอ่านแบบ StandAlone Reader หรือ ต่อกับ เครื่องอ่านแบบ Reader Read
ทำงานกับตู้ควบคุมระบบ หรือ ต่อกับ Wiegand Controller ในการทำงาน ไม่สามารถต่อกับชุดอุปกรณ์
ล็อค หรืออุปกรณ์เสริมอื่นๆได้เลย

การนำไปใช้งานก็จะมีทั้ง แบบใช้บัตรรูดที่ตัวเครื่อง , แบบใช้บัตรทาบที่ตัวเครื่อง , แบบใช้กดรหัสผ่านที่ตัว
เครื่อง และ แบบใช้ทั้งกดรหัสผ่าน กับบัตรทาบที่ตัวเครื่อง

 

2. ตู้จ่ายไฟเลี้ยงอุปกรณ์ และ แบตเตอรี่สำรองไฟ (Power Supply with Battery) จะทำหน้าที่จ่ายไฟ
เลี้ยงให้กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในระบบทั้งหมด

 

3. ตู้ควบคุมเระบบและเพิ่มระบบในการควบคุม (Access Controller System) สำหรับต่อกับอุปกรณ์
เครื่องอ่าน ในการทำงาน หรือ ต่อกับอุปกรณ์เครื่องอ่านหลายๆชุดในการควบคุมระบบประตูทางเข้า-ออก
แบบเครือข่าย

 

4. อุปกรณ์ล็อคไฟฟ้า สำหรับล็อคประตูจะมีอยู่ 3 ชนิด คือ

 

อุปกรณ์ล็อคไฟฟ้า แบบแม่เหล็กไฟฟ้า (Electro Magnetic Lock) ก็จะมีอยู่ 3 ขนาด คือ
ขนาดแรงดูด 300 ปอนด์ กับ ขนาดแรงดูด 600 ปอนด์ และ ขนาดแรงดูด 1,200 ปอนด์ แล้ว
จะมีรุ่นที่มี LED บอกสถานะการทำงานของตัวอุปกรณ์ กับรุ่นที่ไม่มี LED ให้เลือกใช้งาน

 

อุปกรณ์ L/Z Bracket เป็น อุปกรณ์เสริมเฉพาะของการยึดอุปกรณ์ Electro Magnetic Lock จะใช้คู่กันในการติดตั้งประตูของสถานที่ต่างๆ

 

อุปกรณ์ U-Bracket for Glass Frame เป็น อุปกรณ์เสริมพิเศษของการยึดอุปกรณ์ L/Z Bracket
สำหรับใส่ยึดประตูเฟรมกระจกบานเปลือยที่ไม่มีกรอบวงกบประตู

 

อุปกรณ์ UBG Bracket for Glass Door เป็น อุปกรณ์เสริมพิเศษของการยึดอุปกรณ์ L/Z Bracket
สำหรับใส่ยึดบานประตูกระจกบานเปลือยที่ไม่มีกรอบที่บานประตู

 

อุปกรณ์ล็อคไฟฟ้า แบบเดือยล็อคไฟฟ้า (Electric Drop-Bolt Lock) จะมีอยู่ 2 แบบ
แบบมี Delay Time และไม่มี Delay Time รวมไว้ในตัวอุปกรณ์

 

U-Bracket Housing For Flame Glass Door อุปกรณ์เสริมพิเศษของการยึดอุปกรณ์ Bolt Lock สำหรับใส่ยึด
เฟรมประตูกระจกบานเปลือยที่ไม่มีกล่องวงกบประตูในการใส่ตัว Bolt Lock

 

U-Bracket Housing For Flame Glass Door อุปกรณ์เสริมพิเศษของการยึดอุปกรณ์ Drop-Bolt สำหรับใส่ยึดบานประตูกระจกบานเปลือยที่ไม่มีกรอบที่บานประตู

 

U-Bracket for Flame Glass Door อุปกรณ์เสริมพิเศษ กล่องยึดกับอุปกรณ์เพจ Drop-Bolt สำหรับสวมกับเฟรมประตบานเปลือยติดกับแผ่น Drop-Bolt รับการล็อคของเดือย Bolt Lock

 

อุปกรณ์ล็อคไฟฟ้า แบบสไตล์ล็อค (Electric Strikes Lock) จะเป็นแบบตัวล็อคของลูกบิดประตูทั่วไป
การติดตั้งก็จะติดตั้งแบบกลอนลูกบิดวงกบกับบานประตู ใช้ไฟฟ้าในการทำงานแทนการใช้มือหมุนหรือโยก

 

5. สวิทว์ปุ่มกด (Exit Switch) สำหรับใช้กดปุ่มเปิดประตูล็อคจากภายในสถานที่ จะมีทั้งแบบพลาสติก
และ แบบสแตนเลส

 

6. อุปกรณ์ตรวจจับที่ประตู (Door Sensor) สำหรับต่อกับ Alarm Sensor Input ของระบบ เพื่อให้
ระบบแจ้งเตือนหากมีการเปิดประตูที่ติดอุปกรณ์ล็อคไฟฟ้า ด้วยการตัดสายอุปกรณ์ล็อค หรือ พังประตูที่
ติดอุปกรณ์ล็อคไฟฟ้าเข้ามา

 

7. อุปกรณ์ส่งเสียงร้อง (Buzzer) สำหรับต่อกับ Alarm Output ของระบบ ทำงานส่งเสียงร้องเตือน ถ้ามี
การเปิดประตูค้างนานเกินกว่าเวลาที่กำหนดไว้ หรือมีการแจ้งเตือนผ่านอุปกรณ์ Door Sensor

 

8. อุปกรณ์ตัีดไฟฟ้าฉุกเฉิน (Break Glass) ของตู้จ่ายไฟเลี้ยงอุปกรณ์ เพื่อเปิดประตูได้เลยกรณีเกิดเหตุ
ฉุกเฉินขึ้นภายในอาคารสถานที่

 

9. อุปกรณ์คีย์สวิทซ์ตัดกระแสไฟฟ้า (Keyswitch) สำหรับใช้ตัดไฟฟ้าที่ไปจ่ายเลี้ยง ตัวอุปกรณ์ล็อคไฟฟ้า
ใช้ในกรณีที่ต้องการเปิดประตูที่ติดอุปกรณ์ไฟฟ้าค้างเพื่อขนของหรืออื่นๆ และ ใช้ในกรณีที่ต้องการเปิดประตู
แบบฉุกเฉินเร่งด่วน

 

10. อุปกรณ์ที่ใช้ทาบ ผ่านเข้า-ออก จะมอยู่ี 4 แบบ

 

บัตร ID Card แบบหนา (Proximity Card size 84x54x1.8 mm. 125 KHz.)

 

บัตร ID Card แบบบาง (Proximity Card size 84x54x0.8 mm. 125 KHz.)

 

บัตร Mifare Card แบบบาง (Mifare Card size 84x54x0.76-0.8 mm. 13.56 MHz.)

 

อุปกรณ์ ID Tag แบบพวงกุญแจ (Proximity Tag 125 KHz.)

 

11. อุปกรณ์ควบคุมอุปกรณ์ล็อคประตูให้ปิด-เปิดไม่พร้อมกัน (Inter Lock) กรณีหากติดอุปกรณ์ล็อค ที่
ประตู 2 บานตรงข้ามกัน แล้วต้องการให้ปิดประตูล็อคบานหนึ่งก่อน ถึงจะไปเปิดประตูล็อคอีกบานหนึ่งได้

 

12. AR-701CM – Isolated RS-232/RS-485 Converter

– อุปกรณ์แปลงสัญญาณจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ ถึง เครื่องอ่านบัตร
– โดยแปลงสัญญาณจาก (Interface) RS-232 ถึง RS-485
– รับกระแสไฟในการทำงาน (Power Supply) แบบ 9 – 16 VDC
– สามารถกำหนดความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้ (Baud Rate) 4800 ถึง 115200 bps
– การกินกำลังไฟในการทำงาน (Power Consumption) น้อยกว่า 1 W.
– สามารภทำงานได้ในอุณหภูมิ (Temperature) -20 ํC to +75 ํC
– ถ้าเดินสาย RS-485 ระยะทำงาน (Active Distance) ไกลสุด 300 เมตร
– (Protocol) 2 KV
– (Optical Isolation) 8 KV ESD
– ได้รับมาตรฐาน RoHS , SOR , FC , CE และ CMA
ดาวน์โหลด Data Sheet – AR-701CM »

 

13. อุปกรณ์ตัวแปลงสัญญาณ (USB Converter) แปลงสัญญาณจาก RS-485 เป็น USB 2.0 ในการเดิน
สายนำสัญญาณไปต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมระบบด้วยการลงโปรแกรมซอฟแวร์

 

14. ซอฟแวร์โปรแกรมควบคุมระบบ (Software Management and Time Attendance) จะมี 2 แบบ
คือ แบบที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (Client) และ แบบที่ทำงานบนเครือข่าย (Server) ต้องเชื่อมต่อ
กับ ISP ต่างๆที่ให้บริการ ส่วนฟังก์ชั่นการทำงานของโปรแกรมก็แล้วแต่ว่ายี่ห้อไหน จะทำฟังก์ชั่นอะไรบ้าง
– สามารถตั้งค่าการทำงาน ของ เครื่องอ่าน ได้
– สามารถควบคุมการเปิด-ปิดประตูจากโปรแกรมได้
– สามารถเพิ่ม – ลบข้อมูลบัตรทาบผ่านเข้า-ออก ได้
– สามารถใส่ข้อมูลรายละเอียดส่วนตัวของผู้ถือบัตรแต่ละใบ ได้
– สามารถกำหนดสิทธิ์การอนุญาตบัตรผ่านเข้าประตูแต่ละใบ ได้
– สามารถดู วันที่ และ เวลา ของบัตร หรือ รหัสผ่าน ได้
– สามารถตั้งระบบ Time Zone ในการผ่านเข้า-ออก ที่เครื่องอ่านแต่ละประตูได้
– สามารถกำหนด Door Group ของ แต่ละประตูที่ติดเครื่องอ่านควบคุมได้
– สามารถควบคุมบนเครือข่ายได้ (Remote viewing over TCPIP)
– สามารถใช้โปรแกรมซอฟแวร์นี้ในระบบ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Fingerprint management) ได้
– แสดงตัวอย่างระบบการจัดการเวลา (Simple time attendance system)
– สามารถสร้างแบบแปลนสถานะของประตูที่ควบคุมได้ (Floor plan view for door status)
– สามารถดูผลสัญญาณเตือนแต่ละประตูควบคุมได้ (Alarm Monitoring)
– สามารถรายงานผลการทำงานเป็น Text File (Reporting)
– สามารถทำเป็นระบบลงเวลาของ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้ (Guard tour monitoring)
– สามารถต่อควบคุมทำงานร่วมกับระบบไม้กั้นทางอัตโนมัติได้ (Car park management)
– สามารถต่อควบคุมกับระบบควบคุมลิฟท์ได้ (Elevator management)
– สามารถนำข้อมูลระบบมาทำเป็น ระบบคิดเวลาการ เข้างาน และเลิกเวลางาน ของพนักงานได้
– สามารถนำส่งข้อมูลออกไปใส่ใน ERP Software โปรแกรม Payroll เพื่อคำนวน วันเวลาในการทำงาน
การขาด การลา การมาสาย และคำนวนค่าโอที ในการคิดเงินเดือนให้ พนักงาน

 

เลือกดูชุดระบบควบคุมการเข้า-ออกของสถานที่ (คีย์การ์ด)

 

1. ระบบควบคุมการเข้า-ออกสถานที่ ยี่ห้อ BOSCH »

2. ระบบควบคุมการเข้า-ออกสถานที่ ยี่ห้อ SOYAL »

3. ระบบควบคุมการเข้า-ออกสถานที่ ยี่ห้อ HIP »

4. อุปกรณ์ประกอบระบบควบคุมการเข้า-ออกของสถานที่ »

5. โปรโมชั่นระบบควบคุมการเข้า-ออกของสถานที่ BOSCH »

6. โปรโมชั่น 1.ระบบควบคุมการเข้า-ออกของสถานที่ SOYAL รุ่น AR-721H »

7. โปรโมชั่น 2.ระบบควบคุมการเข้า-ออกของสถานที่ SOYAL รุ่น AR-727H »

8. โปรโมชั่น 3.ระบบควบคุมการเข้า-ออกของสถานที่ SOYAL รุ่น AR-757H »

 

 

ระบบเครื่องสแกนลายนิ้วมือ Fingerprint

FINGERPRINT SYSTEM

 

 

ระบบเครื่องสแกนลายนิ้วมือ คือ ระบบที่ต้องใช้ ลายนิ้วมือ ของ บุคคลที่ได้รับการอนุญาต

หรือ บุคคลที่ได้ทำการโปรแกรมบันทึก ลายนิ้วมือ ลงไว้ใน ตัวเครื่องสแกนลายนิ้วมือ ที่ใช้

ควบคุมระบบการทำงานต่างๆแล้ว ซึ่งหากบุคคลใดไม่ได้มี การบันทึก ลายนิ้วมือ ลงไว้ใน

ตัวเครื่องสแกนลายนิ้วมือ ก็จะไม่สามารถเข้าใช้งาน ระบบที่ต้องมีการสแกนลายนิ้วมือนี้ได้

ส่วนระบบที่นำการสแกนลายนิ้วมือ เข้ามาใช้งานในการควบคุมก็ เช่น

การใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือ มาทำเป็น เครื่องลงเวลาการทำงาน ของพนักงานในองค์กร
เพราะ ระบบจะทำการระบุตัวบุคคลได้ดีกว่า และแน่นอนกว่าระบบอื่นๆ เพื่อป้องกันการลงเวลา
ทำงานแทนกัน ของพนักงาน

 

การใช้เครื่องสแกนลายนิ้วมือ มาทำเป็น ระบบควบคุมการเข้า-ออก ของประตูสถานที่ต่างๆ
ที่ไม่ต้องการให้บุคคลอื่นใดที่ไม่ได้รับอนุญาตผ่านเข้า-ออกทางประตูนั้นๆ อาทิเช่น ประตูหน้า
ทางเข้า-ออกของสถานที่ ,ประตูห้องบัญชีและการเงิน ,ประตูห้องเก็บสินค้า ,ประตูห้องควบคุม
ระบบต่างๆ , ประตูตู้เซฟต่างๆ เป็นต้น

 

ข้อดีของการใช้ ลายนิ้วมือ ในการระบุตัวบุคคล

ลายนิ้วมือของแต่ละคน จะเริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่เป็นตัวอ่อนอายุ 3 ถึง 4 เดือนในครรภ์มารดา ซึ่งเป็นผิวหนัง
ส่วนที่มีสัน (Ridge) และ มีร่อง (Furrow) เอาไว้ใช้สำหรับอำนวยความสะดวกในการหยิบจับสิ่งของ สัน
และ ร่อง ที่ปรากฏนี้ จะมีคุณลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ คือ

1. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบตามกาลเวลา (แต่อาจจะเปลี่ยนขนาดได้)

ลายนิ้วมือจะไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ (Permanence) ตั้งแต่แรกเกิด จนถึงกระทั่งวันที่เราตาย แต่ก็อาจจะ
เปลี่ยนแปลงขนาดได้ตามขนาดร่างกาย เหมือนกับการที่เราวาดรูปไว้บนลูกโป่ง ซึ่งไม่ว่าลูกโป่งจะเล็ก หรือ
ถูกเป่าให้พองใหญ่ขึ้นอย่างไร ก็ยังคงเป็นรูปที่เราวาดไว้เดิมเพียงแต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเท่านั้น

2. มีรูปแบบเฉพาะในแต่ละบุคคล

การที่ลายนิ้วมือมีรูปแบบเฉพาะในแต่ละบุคคล (Individuality) เป็น คุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ของ
ลายนิ้วมือ นั้น ตั้งแต่เริ่มมีการใช้เก็บ และ เปรียบเทียบลายนิ้วมือโดยใช้วิธีสมัยใหม่ ซึ่งมีมาร้อยกว่าปีแล้ว
ยังไม่มีการตรวจพบว่ามีการเหมือนกันของลายนิ้วมือ อีกทั้งถ้าจะอธิบายด้วยหลักการทาง คณิตศาสตร์ และ
วิทยาศาสตร์ ก็มีการศึกษา ของ Sir Francis Galton (1892) ซึ่งได้ประมาณไว้ว่า โอกาสที่ คน 2 คน
จะมีลายนิ้วมือเหมือนกันนั้นมีความน่าจะเป็นอยู่ที่ 1 : 64,000,000,000 คน ซึ่งการประเมินค่าโดยใช้การ
แบ่งรายละเอียดรูปแบบของลายนิ้วมือออกเป็นส่วนๆ และ หาความน่าจะเป็นของการซ้ำกันของแต่ละส่วนนั้น
แล้วนำความน่าจะเป็นของแต่ละส่วนมาคูณกัน เพื่อหาความน่าจะเป็นทั้งหมด ท่าน Sir Francis Galton นี้
เป็นผู้ที่เริ่มทำการวิจัยอย่างจริงจังกับลายนิ้วมือ และ ถือว่าเป็นบุคคลแรกที่ศึกษาถึง การใช้ลายนิ้วมือในการ
ระบุตัวบุคคล และเป็นบุคคลแรกที่ทำการพิสูจน์ว่าลายนิ้วมือของแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะ (Individuality)
และ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ (Permanence) อีกทั้งยังได้เป็นผู้ที่กำหนด และแบ่งแยกประเภท ของ
รูปแบบลายนิ้วมือที่ใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

ลายนิ้วมือ ของ แต่ละคนนั้นจะมีลักษณะเฉพาะมากจนกระทั่งแม้แต่ คู่แฝดแท้ (Identical Twin) ก็ยังมี
ลายนิ้วมือ ที่แตกต่างกัน (แต่มีรูปแบบ DNA ที่เหมือนกัน) อย่างไรก็ตามรูปแบบของ ลายนิ้วมือ นั้นก็จะมี
ลักษณะความคล้ายกันของ คนภายในครอบครัว หรือ พูดได้อีกอย่างหนึ่งว่า รูปแบบของ ลายนิ้วมือ มีการ
ถ่ายทอดกันทาง พันธุกรรม

ซึ่งรูปแบบของ ลายนิ้วมือ สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆได้ 3 ประเภท คือ

– ลายนิ้วมือแบบลายก้นหอย (Whorl) มีประมาณ 30%

– ลายนิ้วมือแบบลายมัดหวาย (Loop) มีประมาณ 65%

– ลายนิ้วมือแบบลายโค้ง (Arch) มีประมาณ 5%

รูปแบบลายนิ้วมือนี้สามารถแบ่งย่อยให้ละเอียดขึ้นไปอีกได้เป็น
– ลายมัดหวายเอียงขวา (Right Loop)
– ลายมัดหวายเอียงซ้าย (Left Loop)
– ลายโค้งสูงแบบกระโจม (Tented Arch) เป็นต้น

การแบ่ง ลายนิ้วมือ ออกเป็นหลายประเภทนี้ เพื่อวัตุประสงค์ใน การเพิ่มความรวดเร็ว ในการตรวจสอบ
ลายนิ้วมือ แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ใช้ใน การบอกความเหมือน หรือ ความแตกต่าง ระหว่างลายนิ้วมือ แต่เป็น
การใช้ลักษณะ ของ สัน (Ridge) ของลายนิ้วมือ เช่น
– การสิ้นสุดของสัน (Ridge Ending),
– สันแบบลายจุด (Dots) ,
– สันที่แตกแขนง (Bifurcations)
หรือ รูปแบบต่างๆของ สัน ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ใช้ในการเปรียบเทียบลายนิ้วมือ

 

การตรวจสอบลายนิ้วมือโดยใช้คอมพิวเตอร์ ตรวจสอบลักษณะของ สัน (Ridge) ตัวอย่าง อุปกรณ์ที่ใช้ใน
การทำงานด้วยการสแกนลายนิ้วมือ (Fingerprint Scanner) อุปกรณ์เครื่องสแกนลายนิ้วมือ ในปัจจุบัน
จะมีราคาถูกลงมาก และ ก็มีแนวโน้มว่าจะมีราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องมาจากความแพร่หลาย และ
การประยุกต์ใช้ลายนิ้วมือกันในงานด้านต่างๆมากขึ้น ส่วนราคาของ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ ในปัจจุบันก็จะ่มี
ราคาตั้งแต่ 10,000 – 30,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนของการรองรับลายนิ้วมือ ในการใช้งานของอุปกรณ์
อุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกและสแกนลายนิ้วมือ มีอยู่หลายประเภท เช่น

 

เครื่องสแกนลายนิ้วมือโดยเฉพาะ

 

เมาส์ที่มีเครื่องสแกนลายนิ้วมือ

 

คีย์บอร์ดที่มีเครื่องสแกนลายนิ้วมือ

 

เครื่องสแกนลายนิ้วมือขนาดเล็ก

 

การเลือกใช้อุปกรณ์แต่ละประเภท ขึ้นอยู่กับประเภทงานที่จะนำไปใช้เป็นหลัก เช่น
ถ้าใช้การตรวจสอบลายนิ้วมือ ในการเข้าใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ควรจะใช้แบบเครื่องสแกนลายนิ้วมือ
ที่ติดอยู่กับ คีย์บอร์ด หรือ เครื่องสแกนที่ติดอยู่กับ เมาส์ ก็จะเหมาะสมกว่าการใช้ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ
ประเภทอื่นๆ หรือ ถ้าจะใช้การตรวจสอบ ลายนิ้วมือ ในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ก็ควรจะใช้
เครื่องที่ใช้สำหรับสแกนลานนิ้วมือโดยเฉพาะ บริษัทผู้ผลิตเครื่องสแกนลายนิ้วมือบางรายก็ได้มีการพัฒนา
โปรแกรมในการตรวจสอบลายนิ้วมือแถมมาให้ หรือจัดจำหน่ายมาพร้อมกับเครื่องสแกนลายนิ้วมือด้วยเลย

 

การเลือกซื้อ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ Fingerprint

หากคุณมองหา เครื่องสแกนลายนิ้วมือ เพื่อหวังว่าระบบนี้จะช่วยลดปัญหาการลงเวลาแทนกัน และช่วยลด
ปัญหาของค่าใช้จ่ายต่างๆของคุณลงไปได้ คุณคิดได้ถูกต้องแล้วครับ แต่ยังมีผู้ใช้จำนวนมากซึ่งใช้ระบบนี้
ไปแล้วไม่ได้ผลอย่างที่คาด แทนที่จะช่วยลดเวลาการทุจริตในการทำงาน และค่าใช้จ่ายแต่กลับกลายเป็น
การเพิ่มปัญหาต่างๆตามมามากมายไม่เว้นแต่ละวัน เนื่องจากเครื่องสแกนลายนิ้วมือ ที่มีวางจำหน่ายทั่วไป
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้เทคนิคทางการประมวลผลแบบ Digital Image Processing ขั้นสูง ซึ่งการที่เราจะ
ทราบได้ว่าลายนิ้วมือที่เรานำมาตรวจสอบนั้น คือ บุคคลใดในจำนวนลายนิ้วมือ หลายๆร้อย หลายๆพันคน
ดังนั้นผู้ใช้จะพบปัญหาบ่อยครั้ง ในเรื่องของการที่คนๆหนึ่งมาสแกนแต่กลับกลายไปขึ้น ชื่อของอีกคนหนึ่ง
หรือ สแกนแล้วแต่เครื่องไม่อ่านอันเนื่องมาจาก เครื่องสแกนลายนิ้วมือ มีคุณภาพต่ำ ปัญหาที่พบของผู้ใช้
เครื่องสแกนลายนิ้วมือหลายราย คือ แทนที่การซื้อเครื่องสแกนลายนิ้วมือไปแล้ว จะเป็นการลงทุนในครั้ง
เดียว โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องอื่นๆตามมาอีก แต่เมื่อไปนำมาใช้กลับต้องมี ค่าใช้จ่ายหมุนเวียนตามมา
ตลอด จากตัวหัวอ่านที่มีความทนทานต่ำ เช่น พวกหัวอ่านที่เป็นประเภท พลาสติกโพลีเมอร์

ในระบบเครื่องสแกนลายนิ้วมือ ส่วนหัวอ่าน จะเป็นส่วนที่ได้รับการสัมผัสตลอดเวลา ดังนั้น หน้าเลนส์ จึง
เป็นส่วนที่สำคัญมากในการใช้งาน หน้าเลนส์ แบบพวกวัสด ุตระกูลโพลีเมอร์ จะเป็นลักษณะ คล้ายๆยาง
เมื่อเกิดคราบสกปรกสะสมเราไม่สามารถทำความสะอาด ได้ด้วยการเช็ดธรรมดา หรืออีกประการหนึ่ง คือ
หน้าเลนส์ ไม่สามารถทนต่อ การขีดข่วนจาก ของแข็ง หรือของมีคมได้ และ ถ้าเป็นการใช้งานกับผู้ใช้ที่
นิ้วมือ มีคราบเคมี หรือเลอะน้ำมัน เช่น งานโรงงาน หรือ ไซต์งานก่อสร้าง เลนส์หน้าสัมผัสพวกโพลีเมอร์
นั้น จะถูกกัดจนบวม และ ลอกออก ซึ่งเป็นผลทำให้ เครืองสแกนลายนิ้วมือ ไม่สามารถทำการสแกนได้
อีกประเภทหนึ่ง คือประเภทอ่านค่าความจุไฟฟ้าของลายนิ้วมือ หรือตระกูล Silicon Sensor การทำงาน
คือ เมื่อเอานิ้วมือไปสัมผัสกับหน้าเลนส์ที่เป็นโลหะ โดยตรงจะเกิดการถ่ายเทประจุผ่าน ลายนิ้วมือของเรา
เพื่อเก็บเป็นข้อมูล หัวอ่านประเภทนี้จะเกิดคราบสกปรกสะสม และเกิดรอยขีด ข่วนได้ง่ายๆ เป็นสาเหตุให้
ต้องทำการซ่อมและเปลี่ยนหน้าเลนส์กันบ่อยครั้ง

สำหรับ หัวอ่าน ที่ดีของ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ ควรเลือกใช้ที่เป็นแบบ Optical และ Optical CMOS
หรือ URU4000 (U.are.U 4000) Sensor ของ Digital Persona และ Biometric Technology
เพราะวัสดุ หน้าเลนส์ ของหัวอ่านพวกนี้จะทำจาก แผ่นกระจกเคลือบอย่างดี จะป้องกันคราบสกปรก ได้ดี
และ ยังป้องกันการถูกขูดขีดจากของแข็งได้เป็นอย่างดี มีความคาดเคลื่อนในการอ่านลายนิ้วมือน้อยมาก
ทุกรุ่นที่แนะนำจะผ่านการทดสอบ และ ได้การรับรองมาตรฐานจากสถาบันทดสอบคุณภาพมากมาย เช่น
UL , FC , CE , LPS และได้รับรางวัลต่างๆอีกมากจากหลายๆประเทศ


การเลือกซื้อ Fingerprint สามารถแบ่งเป็นข้อๆได้ดังนี้

1. ดูที่หัวอ่าน (Sensor) ว่าสินค้านั้นใช้หัวอ่านแบบไหน ?
(ข้อนี้สำคัญมากที่สุด เพราะเครื่องสแกนจะดีหรือไม่ก็อยู่ที่หัวอ่าน)

2. ความเร็วในการอ่านลายนิ้วมือเร็วแค่ไหน ใช้เทคโนโลยีใดในการอ่าน
(ข้อนี้ก็สำคัญมาก เพราะจะได้ไม่มีปัญหาในการสแกนลายนิ้วมือทีละหลายๆคน)

3. จำนวนรายนิ้วมือที่รองรับ และหน่วยความจำในการบันทึกการใช้งานของเครื่อง
(ข้อนี้ก็สำคัญ เพราะเราต้องเลือกให้เหมาะกับจำนวนคนที่จะต้องใช้งานจริง)

4. ดูวัสดุทีใช้ในการผลิตอุปกรณ์ว่าแข็งแรง ทนทานหรือไม่
(ไม่ใช่ดูแล้วเปราะบางเหมือนของเด็กเล่น เพราะเราต้องใช้เป็นระยะเวลายาวนาน)

5. ส่วนของ Software ดูว่ามีฟังก์ชั่นการใช้งานดีหรือไม่ ?
(หาก Software ดีจะช่วยลดขั้นตอนการทำงานได้มาก)

6. สินค้านั้นผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน ISO9000, ISO14001 หรือไม่
(เพื่อเป็นสิ่งยืนยันว่าผลิต จากโรงงานที่ได้มาตรฐาน และผ่านการตรวจสอบคุณภาพที่ดี)

7. ตัวสินค้าได้ผ่านการทดสอบและได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบันรับรองมาตรฐาน หรือไม่
(มาตรฐานที่ทั่วโลกให้การยอมรับด้วยดีก็ เช่น UL , FC , CE , LPS เป็นต้น)

8. ตัวสินค้ามีจำหน่ายอย่างแพร่หลายหรือไม่ ?
(เพราะเป็นการการันตีได้อย่างหนึ่งว่าสินค้านั้นเป็นที่นิยมของผู้ใช้ต่างๆ)

9. บริษัทผู้ขายได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนจำหน่าย (Distributor) โดยตรงหรือไม่ ?
(ข้อนี้เป็นสิ่งยืนยันได้ว่าผู้ขายมีความพร้อมหลายๆด้าน เช่น ได้รับการอบรมจากผู้ผลิตโดยตรง)

10. คุณอย่าตัดสินใจที่ราคาเพียงอย่างเดียว เพราะสินค้าราคาถูกมีอะไรแอบแฝงอีกเยอะ ควรจะเลือกจาก

– Performance = คุณสมบัติการทำงานของตัวสินค้า
– Location Area = ระยะทางของบริษัทผู้ขาย กับสถานที่ๆเราจะซื้อสินค้ามาติดตั้ง
– Profile = ประสบการณ์และความชำนาญของบริษัทฯผู้ขาย
– Warranty = การรับประกันตัวอุปกรณ์สินค้าและระบบ
– After Service = การบริการหลังการขาย ของบริษัทฯผู้ขาย
– Installation Best Standard = การติดตั้งระบบอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน
– Price = ราคาสินค้าที่เหมาะสม ของภาพรวมสินค้าทุกๆข้อที่กล่าวมา

 

 

 

 

Powered by WordPress | T-Mobile Phones for Sale at BestInCellPhones.com | Thanks to Free Phones at iCellPhoneDeals.com, Free MMORPG Games and Fat burning furnace review
Mr. Somboon Kangsanonkul